การบริหารการเปลี่ยนแปลง : กรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย
Main Article Content
Abstract
บทความชิ้นนี้ผู้เขียนจะอธิบายหลักใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกปัจจัยเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางการบริหาร ประเด็นที่สองกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้วยการสังเคราะห์ขึ้นมาจากการศึกษาตำราและจากประสบการณ์ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้การบริหารจัดการแก่หน่วยงานราชการมากว่า 2 ทศวรรษ และการประเมินการปฏิบัติงานตามคำรับรองของหน่วยงานราชการระดับส่วนภูมิภาคมากกว่า 5 ปี พบว่า ปัจจัยเหตุของการเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานหรือองค์กรรัฐหรือองค์กรสาธารณะนั้นมีหลายเหตุผลหรือหลายปัจจัย เป็นต้นว่า เหตุผลของการตื่นตัวของอำนาจประชาชน เหตุผลที่เกี่ยวกับจำนวนประชากร เหตุผลโครงสร้างอำนาจทางการเมือง เหตุผลของกระแสโลภาภิวัตน์ และระบบนิเวศหรือสภาพดินฟ้าอากาศ ส่วนกลยุทธ์การบริหารท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงมีทั้งกระบวนการบริหารจัดการภายในองค์กรประกอบด้วย ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการสร้างขวัญและกำลังใจ ความรู้และการสร้างความรู้ การสร้างทีมงาน การพัฒนาบุคคลการสื่อสารภายในองค์กร ความอดทน ส่วนการบริหารจัดการภายนอกองค์กร ประกอบด้วย การสร้างเครือข่าย การประสานงานและความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายคือ เพื่อคุณภาพและประโยชน์ของบริการสาธารณะสู่พลเมือง เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย เพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ความอยู่รอดของปัจเจกบุคคลและหน่วยงานเพื่อหนีการแข่งขันการปฏิบัติภารกิจที่ซ้ำซ้อนของหลายองค์กรและหน่วยงาน ทั้งนี้กลยุทธ์เหล่านั้นเป็นกระบวนการที่สมควรจะดำเนินการบริหารจัดการที่อยู่ภายใต้กรอบเวลาที่อยู่ในสถานการณ์ปกติ และอยู่ในช่วงเวลาสถานการณ์ฉุกเฉิน
Change Management: Conceptual Framework
This study will refer to the descrption of change managment. The author’s intention was to illustrate two main features of change management, which are the factors of change management and the strategies of change management. This paper is based on the theories and the author’s experiences as a mangement trainer for more than 2 decades and also his working comprehensive assessment from government agencies for more than 5 years. There are numerous factors of changes for organizations or governmental sectors or private sectors such as the awakening of the power of the people, population, political power’s structure, globalization, ecology and weather.
The strategies of organizational change management include change agent, attitudes and morale boosting, knowledge and knowledge management, team building, training, internal communication and tolerance. Meanwhile, the external factors are networking, coordination and cooperation to acquire an accomplishment, which align the quality and identified benefits of public services for the citizens, orderliness, and the existence of individuals and organizations in order to avoid the redundant missions of the organizations. Thus, the strategies should align with the management process within both normal and emergency situation.
Article Details
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.