ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กรอบแนวคิดภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร โดยนำเสนอเนื้อหา ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แนวคิดการบริหารการเปลี่ยนแปลง และ การวิเคราะห์กรอบแนวคิดภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร
ผลการวิเคราะห์พบว่า กรอบแนวคิดภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร ประกอบด้วยสองส่วน คือ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยยึดตามแนวคิดของ Bass & Avolio ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และ 2) กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง มี 6 กระบวนการ ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์สถานการณ์เดิม (ข้อมูลพื้นฐานและความจำเป็น) 2) กำหนดเป้าหมาย/วิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง 3) ออกแบบโครงสร้างการทำงาน (ทีมงาน) 4) กำหนดกระบวนการ/กลไกการทำงาน 5) สร้างการรับรู้/การสื่อสาร และ 6) ทบทวนและรักษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารการเปลี่ยนแปลง (เกิดวัฒนธรรมใหม่)
Leadership in Change Management To Create Innovation in Organization
This article has important objective to analysis conceptual framework for leadership in change management to create innovation in organization. With present contents consist of transformational leadership concept ,change management concept and analysis conceptual framework for transformational leadership and change management to create innovation in organization.
The result found that conceptual framework for leadership in change management to create innovation in organization has two parts. First part is transformational leadership by focusing on Bass & Avolio concept as Idealized Influence, inspiration motivation, Intellectual Stimulation and individualized consideration and second part is change management processes which are 6 processes as follows ; 1) old situation analysis (basic knowledge and essential) 2) set the goal/vision of change 3) design working structure (Teamwork) 4) set working strategies 5) create cognition/communication 6) revise and keep the result (new culture)
Article Details
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.