การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนตลาดโบราณ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • นิรมล ขมหวาน

Keywords:

อัตลักษณ์ของชุมชน, ชุมชนตลาดโบราณบางพลี, Community Identity, Bangplee Old Market

Abstract

งานวิจัยเรื่องการศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนตลาดโบราณบางพลี จังหวัดสมุทรปราการมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ของชุมชนตลาดโบราณบางพลีการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยคือ 1) การกำหนดประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ กลุ่มผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ และกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในชุมชน2) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจภาคสนาม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การจัดประชุมกลุ่มย่อย และการวิเคราะห์ข้อมูลและตีความแบบอุปนัยเพื่อสร้างข้อสรุปที่ได้จากผลจากวิจัย

ผลการวิจัยพบว่าชุมชนตลาดโบราณบางพลีมีอัตลักษณ์ชุมชนที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของชุมชนซึ่งถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความเหมือนกันทั้งด้านวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเกิดการยอมรับร่วมกันของชาวชุมชนและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะของชุมชน และเป็นสิ่งที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชนที่พบสามารถสรุปได้ออกเป็นแต่ละด้านคือ1) อัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิต ประกอบด้วย 1.1) การมีวิถีชีวิตชุมชนแบบแม่ค้าชุมชนตลาดริมน้ำซึ่งเป็นวิถีชีวิตจริงที่ยังหลงเหลืออยู่ในสังคม 1.2) การมีวิถีชีวิตที่มีหลวงพ่อโตเป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจ 2) อัตลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรม คือ การมีแบบแผนอาคารสถาปัตยกรรมแบบโบราณ3) อัตลักษณ์ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3.1) การมีประเพณีรับบัวซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่และมีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย 3.2) การละเล่นพื้นบ้าน ได้แก่ การเล่นกังหันเมล็ดมะม่วง การแข่งเรือมาดและการละเล่นมวยทะล 3.3) ขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง ได้แก่ ขนมสายบัว ขนมกะลา และปลาสลิดแดดเดียว โดยอัตลักษณ์ที่ยังคงดำรงอยู่ในชุมชน ได้แก่ อัตลักษณ์การมีวิถีชีวิตแบบแม่ค้าชุมชนตลาดริมน้ำ การมีวิถีชีวิตที่มีหลวงพ่อโตเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การมีแบบแผนอาคารสถาปัตยกรรมแบบโบราณ การมีประเพณีรับบัว การมีอาหารพื้นเมืองคือปลาสลิดแดดเดียว ส่วนอัตลักษณ์ที่สูญหายไปจากชุมชน ไม่มีการรื้อฟื้นกลับมา ได้แก่ อัตลักษณ์ขนมพื้นบ้านคือขนมสายบัวและขนมกะลา และอัตลักษณ์การละเล่นพื้นบ้านคือการเล่นกังหันเมล็ดมะม่วง และอัตลักษณ์ที่สูญหายไปแล้วจากชุมชน แต่มีการรื้อฟื้นกลับมาให้คงอยู่ภายในชุมชน และมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป โดยนำมาอยู่ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในงานประเพณีของชุมชน ได้แก่ อัตลักษณ์การละเล่นพื้นบ้านคือการแข่งเรือมาดและการละเล่นมวยทะเล

The Study of Community Identity of Bangplee old Market, Samutprakan Province

The research on the study of community identity of Bangplee old Market, Samutprakan province. The objectives of this study were to analyze identity of the community in Bangplee old market. The methodology used in this study is qualitative research. The research procedures are 1) Setting target population to provide key information, i.e. group of formal community leaders, group of informal community leaders, and group of traders and residents in the community 2) Collecting information by doing the research into relevant documents 3) Collecting field data by using research tools which are Field observation, Non-participant observation, Participant observation, In-depth interview, Subgroup discussion and Analytic Induction using to create a conclusion obtained from the result of the research.

According to the research, it was found that identity of the community in Bangplee old Market shows that the community was established on the similarities in terms of cultures, traditions, and lifestyles which are mutually acceptable for the residents and are continuously conducted and inherited until they become a unique culture and lifestyle of the community that cover every convention in community. Identities of the community that are found in the research can be summarize are 1) Lifestyle of identities include 1.1) Lifestyle of merchants in river market which is a real lifestyle that still remains in the society 1.2) Lifestyle of Luang Phor Toh is spiritual anchor. 2) Architectural of identity is Traditional building design and architecture. 3) Cultural and tradition of identity include 3.1) Rub-Bua tradition, an old-age tradition performed only here in Thailand 3.2) Traditional games, i.e. mango seed windmill, boat racing, and sea boxing and 3.3) Traditional snacks and foods, i.e. Khanom Saibua, Khanom Kala, and dried salted snakeskin gourami. The identities that still exist in the community are lifestyle of merchants in the river market, lifestyle of Luang Phor Toh is spiritual anchor, traditional building design and architecture, Rub-Bua tradition, and dried salted snakeskin gourami. The identities that went missing from the community and have never been retrieved are traditional snacks which are Khanom Saibua and Khanom Kala, and the traditional game, mango seed windmill. The identities that were disappeared from the community but retrieved back to the community and adjusted to be suitable for the modern society are boat racing, and sea boxing. They are included in the activities that are arranged in the community’s festivals.

Downloads

How to Cite

ขมหวาน น. (2014). การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนตลาดโบราณ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. Asian Journal of Arts and Culture, 14(1), 125–144. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95336