การฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น : พี่เลี้ยงทำงานอย่างไร
Keywords:
การฟื้นฟูภาษาในภาวะวิกฤต, วิจัยเพื่อท้องถิ่น, พี่เลี้ยงทีมวิจัยAbstract
บทความนี้ได้นำเสนอเรื่องการฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยอธิบายในประเด็นใหญ่ๆ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คืออะไรมีการดำเนินงานอย่างไร 2) การฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทำอย่างไร และ 3) พี่เลี้ยงมีการทำงานอย่างไร
การฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยชุมชนเจ้าของภาษา เป็นเจ้าของโครงการวิจัย มีบทบาทเป็นนักวิจัยท้องถิ่นมุ่งเน้นการแก้ปัญหาหรือการฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ด้วยตนเอง โดยมีลักษณะการฟื้นฟูภาษาฯ ในหลายรูปแบบ เช่น การพัฒนาระบบเขียน การสร้างสรรค์วรรณกรรมท้องถิ่น การฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านระบบโรงเรียน การศึกษาบันทึกและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ในการดำเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจำเป็นต้องมีระบบพี่เลี้ยง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการดูแล ติดตาม หนุนเสริม เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ โดยต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ในการทำงานร่วมกับชุมชน ได้แก่ มีองค์ความรู้พื้นฐานงานวิจัย, มีองค์ความรู้เกี่ยวกับประเด็นของโจทย์วิจัยที่เกี่ยวข้อง, มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม, มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกรอบเดิมๆ, สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้,มีความเข้าใจในธรรมชาติของทีมวิจัย และ ใช้ประโยชน์จากการสื่อสารผ่านระบบ SocialNetwork นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พี่เลี้ยงต้องมีความเข้าใจในการทำงาน และการมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2017 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ (Walailak Abode of Culture Journal)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.