ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งกรณี การเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี

Authors

  • ฮัสสัน ดูมาลี ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

Keywords:

ความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง, อ่าวปัตตานี, Conflict, Conflict Management, Pattani Bay

Abstract

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการศึกษาปัจจัยลักษณะและแนวทางจัดการกับปัญหาความขัดแย้งการเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่นำมาสู่ปัญหาความขัดแย้ง เนื่องจาก การเลี้ยงหอยแครงส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้านทั้งเรื่องของปัญหาทรัพยากร เขตที่ทำกิน อุปกรณ์การทำประมง โดยลักษณะของความขัดแย้งเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคือ ชาวประมงพื้นบ้านกับนายทุนผู้เลี้ยงหอยแครง ชาวประมงพื้นบ้านกับชาวบ้านด้วยกัน และนายทุนผู้เลี้ยงหอยแครงกับเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนแนวทางการจัดการความขัดแย้งมี 4 แนวทาง คือ การเผชิญหน้าและประท้วงอย่างสันติ การฟ้องร้องการไกล่เกลี่ย และการจัดการความขัดแย้งแบบมีส่วนร่วม

Conflict and Conflict Management : A Case Study of Cockle Farming in Pattani Bay

This study aimed to investigate factors, types of conflict, and guidelines for conflict management of Cockle Farming in Pattani Bay. The study revealed that the factors that led to the conflict wereresources, farmers’ land, and fishing equipment. With regard to types of the conflict, the study found that there was the conflict between groups, which can be clarified as follows: the first one was the conflict between local fishermen and investors, the second one was the conflict between the local fishermen, and the third one was the conflict between the investors and government officials. In addition, the study also showed that there were four guidelines that could be used to manage the conflicts: peaceful protest and confrontation, prosecution, mediation, and participatory conflict management.

Downloads

Published

2022-03-01

How to Cite

ดูมาลี ฮ. (2022). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งกรณี การเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี. Asian Journal of Arts and Culture, 15(2), 29–44. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95371