ความคิดเห็นและการปรับตัวของประชาชนต่อการ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • อังคณา ศรีสุวรรณ์

Abstract

งานวิจัยเรื่องความคิดเห็นและการปรับตัวของประชาชน ต่อการขึ้นทะเบียนเปน็มรดกโลกของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น และการปรับตัว ของประชาชน ต่อการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 14 คน ได้แก่ พ่อค้าแม่ค้าในวัด 3 คน คนขายดอกไม้หน้าวัด 3 คน ชาวบ้านรอบวัด3 คน คนขับวินมอเตอร์ไซค์ 3 คน และคนขับรถสองแถว 2 คน ในเรื่องของความคิดเห็นในเชิงยอมรับสนับสนุนและในเชิงวิพากษ์โต้แย้ง ต่อประเด็นต่างๆ ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และในเรื่องของการปรับตัวจากการทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวของผู้วิจัยจึงหยิบยก แนวคิดการปรับตัวของ Roy ในด้านอัตมโนทัศน์บทบาทและ ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ ในเรื่องกระบวนการ และด้านผลผลิต มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดในการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ ประมวลรวบรวมจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เก็บความ และขยายความโดยเน้นการพรรณนา บรรยาย ให้ทราบถึงความคิดเห็นและการปรับตัวของประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 กลุ่ม

ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของความคิดเห็นและการปรับตัวของประชาชน ผู้ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพราะผู้วิจัยเห็นว่าความคิดเห็น (comment) เป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และข้อสันนิษฐานที่ผู้พูด หรือผู้เขียนมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 1 การแสดงความคิดเห็น ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะในบางครั้งการแสดงความคิดเห็นนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนนโยบายต่างๆ เนื่องจากทำให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย ซึ่งโครงการพัฒนาใดๆ ก็ตามถ้าจะให้สำเร็จและบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริงนั้น ก็ควรที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนเพราะการเผยแพร่โครงการและการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนต่อโครงการจะเป็นผลดีต่อการดำเนินการ การรับฟังความคิดเห็นจะช่วยให้โครงการนั้นสอดคล้องและเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น อันเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ใช้ประเมินค่าโครงการ อีกทั้งการรับฟังความคิดเห็นจะทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม และจะไม่ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชน 2 เช่นเดียวกับ การปรับตัว (Adaptation) ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีกระบวนการดำเนินชีวิตบนความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม สังคม ชุมชน และวัฒนธรรม สิ่งเล่านี้ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น การปรับตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากบุคคลไม่รู้จักการปรับตัวบุคคลก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ในสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การเผชิญกับปัญหาความอึดอัดใจ ความคับข้องใจ ความเครียดความทุกข์ใจความวิตกกังวลต่างๆ จะส่งผลให้บุคคลไม่สามารถอยู่รอดกับสภาพแวดล้อมหรือในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่หากบุคคลรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ย่อมส่งผลให้บุคคลสามารถอยู่รอดในชีวิตอย่างมีความสุข

ดังนั้นการที่วัดพระมหาธาตุฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อผู้คน เนื่องจากวัดพระมหาธาตุฯ ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนครศรีธรรมราช จึงทำให้ ผู้คนและวัดมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน อีกทั้งวัดพระมหาธาตุฯ ถือเป็นโบราณสถานที่ ทรงคุณค่าต่อจิตใจของชาวนครศรีฯ มาช้านาน เพราะฉนั้นความคิดเห็นและการปรับตัวของ ประชาชนจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม แต่เป็นสิ่งที่ควรรับรู้และรับฟัง

ซึ่งจากการที่ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาความคิดเห็น และการปรับตัว ของพ่อค้าแม่ค้า คนขายดอกไม้หน้าวัด ชาวบ้านรอบวัด วินมอเตอร์ไซค์ และคนขับรถสองแถว ทำให้ทราบถึง ความคิดเห็นและการปรับตัวของผู้คนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าความเห็นของประชาชนกลุ่ม เป้าหมายแต่ละกลุ่มที่แสดงออกมา มีทั้งความคิดเห็นเชิงยอมรับสนับสนุนและในเชิงวิพากษ์ โต้แย้ง ความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มที่ได้มา มีทั้งเหมือนและต่างกันในบางประเด็น แต่ในขณะ เดียวกันความคิดเห็นของคนกลุ่มเดียวกันก็ไม่ได้มีความสอดคล้องกันหรือเหมือนกัน ในบางเรื่องบางประเด็น อีกทั้งจากการศึกษาในประเด็นการปรับตัวของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 5 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าการปรับตัวของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน เนื่องจากคนบางกลุ่ม ไม่มีปรับตัวต่อประเด็นหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันคนอีกกลุ่มไม่ได้มีการปรับตัวในประเด็นนั้นเลย และในบางครั้งความคิดเห็นของผู้คน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัว อย่างไรก็ตามจาก การศึกษาทำให้ทราบความคิดเห็นและการปรับตัวของประชาชนดังต่อไปนี้

Downloads

Published

2022-03-01

How to Cite

ศรีสุวรรณ์ อ. (2022). ความคิดเห็นและการปรับตัวของประชาชนต่อการ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช. Asian Journal of Arts and Culture, 15(2), 117–129. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95375