ทุนทางสังคมกับข้อเสนอเชิงนโยบายของการบูรณาการทุนทางสังคม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
Keywords:
ทุนทางสังคม, การพัฒนาท้องถิ่น, Social capital, Local developmentAbstract
ทุนทางสังคม เป็นสินทรัพย์สาธารณะที่มีค่าของสังคมอันเกิดจากการที่มนุษย์ได้หล่อหลอมสั่งสมขึ้นมาเกิดเป็นบรรทัดฐาน วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานของสังคมที่ช่วยเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ฉะนั้น กลไกการบูรณาการทุนทางสังคมที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันตามบริบทของท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นจึงมีความสำคัญโดยการบูรณาการทางความรู้ ความคิด กับทุนสังคมนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับทุนทางสังคม และข้อเสนอเชิงนโยบายของการบูรณาการ ในทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยพบว่าทุนทางสังคมก็เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการบูรณาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน โดยอาศัยกลไกประชารัฐหรือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น โดยข้อเสนอเชิงนโยบายของการบูรณาการทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยอาศัยกลไกประชารัฐ ประกอบด้วย 1) นโยบายการบริหารของผู้นำยึดหลักกลไกประชารัฐที่ดีเป็นแนวทางในการบูรณาการทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 2) นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนประชาชนในเชิงรุกและ 3) นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแสวงหาความร่วมมือในรูปแบบของเครือข่ายใหม่ และการรักษาเครือข่ายเดิม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามหลักการกลไกประชารัฐที่ดี
Social Capital and Policy Proposal of Integrating the Social Capital for Local Development
Social capital is the valuable asset of the society emerged from socialization to be social norm, culture and folk wisdom and others. This is the social basic for develop economy, society and environment. Thus, integration mechanism by applying social capital which is different for each local as local contexts to be integrated by knowledge, idea with social capital which is very important to local development. This article has objective to study the basic concepts of social capital and policy proposals for integration social capital to develop locality. It found that social capital is very significant to be integrated for local development in every approaches by applying good governance as civil state or collaboration between public sector, private sector and civil society to develop economy, society and environment. For the policy proposal for integration the social capital for local development are consisted of three issues which are; 1) policy of the executive which focusing on good governance as the administration mechanism by integration social capital to develop locality, 2) policy for local organizations to create the active public participation and 3) policy for local organizations for creating networks and maintain old networks for economics and social development.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.