จริยธรรมในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลก

Main Article Content

สืบพงศ์ ธรรมชาติ

Abstract

การวิจัยจริยธรรมในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลกใช้ข้อมูลจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ใหม่สุดประมาณต้นรัชกาลที่ 5 รวมทั้งหมด 5 เรื่อง คือ พระรถเมรีหรือนางสิบสอง มโนหรานิบาต ชาละวันหรือไกรทองคำกาพย์ สุวรรณหงส์ และปลาบู่ทอง วรรณกรรมไทยภาคใต้ทั้ง 5 เรื่องนี้ล้วนแต่เป็นผลงานการประพันธ์ของชาวไทยภาคใต้ทั้งสิ้น ต้นฉบับของวรรณกรรมทุกเรื่องเป็นบุด (สมุดข่อย) ใช้อักขรวิธีไทยโบราณในการเขียน (อักขรวิธีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น)เขียนตามเสียงที่ออก รูปแบบการสะกด การันต์ การใช้วรรณยุกต์ และอักษร มีความต่างออกไปจากปัจจุบันพอสมควร ทั้งนี้เพราะเป็นวรรณกรรมที่เขียนหรือแต่งไว้ก่อนที่จะมีพจนานุกรม พ.ศ.2493 และปทานุกรม วรรณกรรมเหล่านี้บางเรื่องมีการปริวรรตแล้วและจัดพิมพ์เผยแพร่ แต่ก็ยังคงอักขรวิธีเดิมเอาไว้ เช่น เรื่องพระรถเมรีหรือนางสิบสอง และเรื่องมโนห์รา นิบาต เป็นต้น

การวิเคราะห์แนวคิดหลักของเรื่องหรือแก่นเรื่อง โครงเรื่อง เนื้อเรื่อง บทสนทนาและบทบรรยาย พบว่ามีจริยธรรมอยู่หลายประการ คือ เมตตา กรุณา กตัญญู ซื่อสัตย์ หน้าที่วินัย เสียสละ สามัคคี ความพยายามและอดทน ยุติธรรม ขยัน และประหยัด จริยธรรมทั้งหมดนี้บางประการก็มีอยู่มากในวรรณกรรมแต่ละเรื่อง บางประการก็กล่าวถึงไว้น้อย และไม่กล่าวถึงเลยก็มี ทั้งนี้เป็นเพราะความต้องการที่จะเน้นจริยธรรมบางด้านของผู้แต่ง เรื่องพระรถเมรีหรือนางสิบสองเน้นความกตัญญู เมตตา กรุณา และวินัย มโนห์รานิบาตเน้นด้านความพยายามและหน้าที่ ชาละวันหรือไกรทองคำกาพย์เน้นด้าน หน้าที่ ซื่อสัตย์และยุติธรรม สุวรรณหงส์ เน้นจริยธรรมด้าน เมตตา กรุณา ซื่อสัตย์ ยุติธรรม และปลาบู่ทองเน้นเรื่อง ความกตัญญู เมตตา และกรุณา

จริยธรรมที่มีอยู่ในวรรณกรรมท้องถิ่นไทยภาคใต้ที่วิเคราะห์ได้จากองค์ประกอบของวรรณกรรมนำมาใช้ในการปลูกฝังให้คนมีจริยธรรมและนำไปใช้พัฒนาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ ได้ คือ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการหาคู่ครอง ด้านการครองเรือน ด้านการคบมิตรด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และด้านการประกอบอาชีพ

Ethics in the Southern literature of the folk tale story

This is a research on ethic appearing in folk comedy literature of southern Thailand. Data for the research were taken from literary works written by southern authers during the early Rattanakosin Era, before the period of the reign of the king Rama v.The five works are Pra Rot Mayree or Nang Sipsong, Manohra Nibat, Chalawan or Kraithong Khamkarp, Suwannahong and Pla Boo Thong.The original copies of this works were recorded in the “Boot” or “Samoot Koy” (The paper make from koy’s tree) from and ultilized the ancient Thai alphabets (use in the the early Rattanakosin Era). The total in criptions consonants, vowels and tonal symbols are quite distint from the present writing system. This is due to the fact that these literary works had been written befor the establishment of dictionary for reference. Later copies have been rewritten to conform with the present system and later published. However major written style have been maintained, which can be seen in Prarot Mayree or Nang Sipsong and Manohra Nibat etc.

Analysis for theme, plot, event and dialogue reveals different aspects of ethics in grianed these structures: kindness, generosity, grateful, honesty, responsibility, discipline, sacrifice, solidarity, struggle, tolerance, justice,diligent, and economy. This aspects of ethics can be found in high frequency in certain works, whereas in some, only a few espects are mentioned, while others do not at all, depending on the focus on certain mention ethics as expressed by individual authers. Gratfull, kindness, generosity, and discipline have been emphasized in Prarot Mayree or Nang Sip Song, while struggle, tolerance and responsibility are stressed in Manohra Nibat, Similarly, responsibility, honesty, and justice are stressed in Chalawan or Krai Tong Kamkarp, whereas kindness, generosity, honesty, and justice are focused in Suwanahong, while gratefull, kindness, and generosity are emphasized in Pla Boo Thong.

Aspects of ethics as appearing in the southern Thailand’s folk literature have been used in social development of different perspectives such as politics, finding sponse, marriage, friendship, coexistence and occupation.

Article Details

How to Cite
ธรรมชาติ ส. (2016). จริยธรรมในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลก. Asian Journal of Arts and Culture, 16(1), 161–172. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95387
Section
Academic Articles