กรอบแนวคิดเพื่อการอธิบายและข้อค้นพบวัฒนธรรมข้าว ชาวลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Keywords:
วัฒนธรรมข้าว, ลุ่มน้ำปากพนัง, Rice Culture, The Pak Panang BasinAbstract
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการสังเคราะห์กรอบแนวคิดเพื่อการอธิบายและเสนอข้อค้นพบวัฒนธรรมข้าว ชาวลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยการศึกษาจากเอกสารงานวิจัย และเอกสารทางวิชาการอื่น ๆ
พบว่า กรอบแนวคิดเพื่อการอธิบายวิถีชาวนาหรือวัฒนธรรมชาวนาข้าวประกอบด้วยประการแรก วัฒนธรรม ความเชื่อ ประการที่สอง เครือข่ายทางสังคม ประการที่สามภูมิปัญญา ความรู้ใน/และของชุมชน โดยลักษณะทั้งสามประการนี้สามารถอธิบายผ่านกรอบแนวคิดย่อย คือ สังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากร ส่วนวัฒนธรรมข้าว ชาวลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นแหล่งก่อเกิดวัฒนธรรมชาวลุ่มน้ำแห่งหนึ่งในคาบสมุทรสยามมลายู มาจากวิถีชีวิตชาวนาที่ดำเนินชีวิตจนเป็นแบบแผนแห่งชาวนาในสายน้ำรอบ 12 เดือน ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมชาวนา เป็นผลมาจากความขาดแคลนหรือไม่สมบูรณ์ของแต่และหย่อมบ้าน แต่ละพื้นที่หรือลุ่มน้ำย่อย กับเงื่อนไขความมั่นคงที่มีน้อยตามสภาพอำนาจรัฐอ่อน ส่งผลให้เกิดการสร้างระบบความสัมพันธ์แบบปัจเจกบุคคลชุมชน การครอบครองปัจจัยการผลิต นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดบุคลิกภาพจำเพาะ เช่นรู้ทันคน ความอดทน ใจถึง รวมกลุ่ม มีความเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในตนเองสูง ค่านิยมการเรียนรู้ ถือว่าเป็นค่านิยมของปัจเจกบุคคลที่โดดเด่น จนกลายเป็นฐานค่านิยมหลักของสังคมชาวลุ่มน้ำปากพนัง โครงสร้างอำนาจในชุมชนหรือบ้าน จึงตอบโต้และมีปฏิกิริยาทั้งเชิงบวกกับราชการ และเชิงลบกับราชการเสมอ
Conceptual Framework for Rice Culture Descriptions and Findings The Pak Phanang Basin, Nakhon Si Thammarat
This research aimed to present the synthesis results of conceptual framework of Rice Culture Descriptions and Findings in The Pak Phanang Basin, Nakhon Si Thammarat by studying other researches and academic document.
It was found that the conceptual framework describing the rice farmer’s way of life and the rice culture were consisted of 1) culture and beliefs 2) social networking and 3) local knowledge/ wisdom. These three topics could be described into 3 sub-conceptual frameworks: social, economic and resources. For the rice culture of The Pak Panang Basin, Nakohn Si Thammarat, it was one origin of the basin cultures in Malay Peninsula resulting from the farmer’s lifestyle to be the pattern of the basin farmer’s lifestyle in 12 months causing the farmer’s culture created from the shortage or the imperfection of each family, each area or each sub-basin including the unsecured caused by the powerless of the government. As a result, the individual relationship, and patronage relationship between community members were created causing the production factors were occupied. Moreover, there were the specific personalities such as undeceivable, patient, sporting, unified, independent and confident and learning inquirable. These distinguish values were recognized as the cores values of the Pak Panang Basin. As a result, power structures of the community caused the people had both negative and positive reaction toward the government.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.