การพัฒนาชุดทดลอง เรื่อง กระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สำหรับใช้ในการสอนวิชาฟิสิกส์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดทดลอง เรื่อง กระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดทดลอง 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนโดยใช้ชุดทดลอง เรื่อง กระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 90 คน ได้มาจากการเลือกแบบสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รูปแบบงานวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง และใช้สถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดทดลองมีประสิทธิภาพที่ 95/85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพชุดทดลอง โดยมีคุณภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.77/4.00) ชุดทดลองที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปในการจัดการเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง แรงจากสนามแม่เหล็กที่กระทำต่อลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน และกฎของแอมแปร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักการและสอดคล้องกับทฤษฎี 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษามีระดับความพึงพอใจในการใช้ชุดทดลอง เรื่อง กระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก อยู่ในระดับมาก (
= 4.21/5.00)
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Akkaratheeranun, T. (2012). Development of a high efficiency standing wave on a string apparatus for performing and experiment, teaching and learning activities in physics on wave. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Boonsawai, S. (1991). Problem solving concept in physics teaching. IPST Magazine, 19(73), 19-21. [in Thai]
Boonyang, S., Srisanyong, S., and Singlop, S. (2016). A development of learning active package on ecosystem using cooperative leaning with STAD technique for grade 9 student. Journal of Education Naresuan University, 14(4), 223-237. [in Thai]
Collins, A. (2002). How students learn and how teachers teach. In R. W. Bybee (ed.) Science educators' essay collection: Learning science and the science of learning, 3-11. Arlington, VA: National Science Teacher Association.
Morkkrathok, P. (2002). Development of an experimental set on linear motion for the upper secondary level (Master’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Moszkowski, A. (1970). Conversations with Einstein. New York: Horizon Press.
Saksuparb, K. (2013). Development of an instruction model (PECA) with emphasis on physics problems solving ability of upper secondary student (Master’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Taweerat, P. (1995). Research methods in behavioral and social sciences. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]