การพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก; THE DEVELOPMENT OF PROCESS-BASED CURRICULUM ENHANCING LEARNING FOLK WISDOM AGAINST FLOODING: A CASE OF BANGRAKUM DISTRICT, PHITSANULOK

Main Article Content

ทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์ (Thipparat Masmeatathip)
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล (Wichian Thamrongsotthisakul)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมของชาวบ้านอำเภอบางระกำจากเกทคีพเพอร์ (Gate Keeper) จำนวน 1 ท่าน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 5 ท่าน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์กำหนดเป็นหัวข้อในการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิจัยให้แก่นักเรียน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและนำหลักสูตรไปทดลองนำร่อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลการใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน จากการสุ่มอย่างง่าย โดยมีหน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน ใช้เวลาเรียน 21 ชั่วโมง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย 5 ขั้นตอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียน ได้แก่ 1) ขั้นตั้งปัญหา 2) ขั้นตั้งสมมติฐาน 3) ขั้นรวบรวมข้อมูล 4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และ 5) ขั้นสรุป โดยประเมินทักษะกระบวนการวิจัย เจตคติที่มีต่อภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วม และความคิดเห็นจากแบบบันทึกผลการเรียนรู้ที่มีต่อหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละค่า เฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมมีลักษณะของเนื้อหาสาระ ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านที่อยู่อาศัย ภูมิปัญญาด้านการทำมาหากิน และภูมิปัญญาด้านธรรมชาติเตือนภัย
2. หลักสูตรแบบเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก มีองค์ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายจุดมุ่งหมาย ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา ผังมโนทัศน์ โครงสร้างเนื้อหา แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เมื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อนำไปทดลองใช้พบว่าหลักสูตรมีความเป็นไปได้ สามารถนำไปใช้ได้จริง
3. ผลการทดลองและประเมินผลการใช้หลักสูตร พบว่า 1) นักเรียนมีทักษะกระบวนการวิจัยในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 2.36) 2) นักเรียนมีเจตคติต่อภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วม พบว่า นักเรียนมีความคิดที่เป็นขั้นตอนมีระบบได้ฝึกทักษะกระบวนการวิจัย การรวบรวมข้อมูล ที่สามารถใช้หาความรู้ในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง สามารถนำกระบวนการไปใช้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิตและนำขั้นตอนกระบวนการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รู้สึกสนุกสนาน ดีใจที่ได้ออกไปศึกษาและสอบถามชาวบ้านพร้อมคุณครูและเพื่อนๆเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างอิสระ ส่งเสริมให้กล้าคิด กล้าทำ รู้สึกถึงความยากลำบากของชาวบ้านที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม มองเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตน้ำท่วม และมีความภาคภูมิใจที่ได้นำภูมิปัญญาชาวบ้านมาเผยแพร่แก่คนรุ่นหลังการดำเนินการทำให้ได้หนังสือเล่มเล็กที่นักเรียนสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อรวบรวมเนื้อหาขององค์ความรู้จากกรณีศึกษาภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมของชาวบ้าน หลังใช้กระบวนการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการลงภาคสนาม จำนวน 3 เล่ม


THE DEVELOPMENT OF PROCESS-BASED CURRICULUM ENHANCING LEARNING FOLK WISDOM AGAINST FLOODING: A CASE OF BANGRAKUM DISTRICT, PHITSANULOK


This research aimed to develop a process-based curriculum enhancing learning folk wisdom against catastrophic flooding, a case study of Bangrakum district Phitsanulok province. The research was conducted by research and development, the research was divided into three characteristic steps: Step 1: Study the basic data of curriculum development, this step the researcher did the depth interview on the wisdom of protecting oneself against catastrophic flooding from the folk at Bangrakum district from gate keeper for one person and 5 key informants. The data were analyzed to determine the topics to be taught the research process. Step 2: Create and monitor the quality of the curriculum, appropriate checks by the experts and led to the pilot course to study the possibility. Step 3: Trial and evaluation of the curriculum were conducted. The samples were 30 students of grade 4 Secondary school of Bangrakum Vittayasuksa School, Phitsanulok province, in the first semester education of the year 2558 from simple random classrooms. It takes 21 hours with the teaching process, five steps of the research process include; 1) Set the problems, 2) Set hypothesis, 3) Data collection, 4) Data analysis, and 5) Conclusion by evaluation research process skills, the attitude of the students towards local wisdom against catastrophic flooding and from student’s opinions from learning recording on curriculum. The analysis of quantitative data used statistics of percentage, mean, standard deviation and t-test. The qualitative data used content analysis and the research was found that:
1. The results of basic data in curriculum development was found the knowledge about local wisdom against catastrophic flooding had the contents of all three aspects included housing wisdom, livelihood wisdom and natural warning wisdom
2. The results of creation and investigate of the quality of curriculum found the process-based curriculum enhancing learning the folk wisdom against catastrophic flooding, a case study of Bangrakum district Phitsanulok province with several elements as principles and reason, vision, mission, goal, aim, learning outcomes, learning, course description, concept mapping, content structure, guidelines learning media and resource, measurement and assessment. The example shows that the curriculum was appropriate and can be applied.
3. The results of evaluation of the curriculum found that: 1) The overview of the students research process skills was at a good level (gif.latex?\bar{x} = 2.36). 2) After learning the students had higher attitude on local wisdom against catastrophic flooding than the previous significance at .01. 3) Reflections on the teaching activities from student’s opinions learning recording on local wisdom against catastrophic was flooding found that students have the procedural thought that could be brought to practice. The collected data can be used on their own local knowledge; we can bring the process to learn throughout life and applying research process step in daily. They are satisfied and glad to be educated outside for questioning folk with teachers and friends. This allowed the students to learn independently, encourage to think and do something creatively, and understood the hardship of the people who suffered catastrophic flooding. Appreciate flooding lifestyle and worthiness to propagate of folk wisdom to future generations. The operation was created three booklets by students to gather content of knowledge in case studies from the folk wisdom to against catastrophic flooding after the research process skill in the quest for self-knowledge from the field.

Article Details

How to Cite
(Thipparat Masmeatathip) ท. ม., & (Wichian Thamrongsotthisakul) ว. ธ. (2018). การพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาภูมิปัญญาต้านภัยพิบัติน้ำท่วมอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก; THE DEVELOPMENT OF PROCESS-BASED CURRICULUM ENHANCING LEARNING FOLK WISDOM AGAINST FLOODING: A CASE OF BANGRAKUM DISTRICT, PHITSANULOK. Journal of Education and Innovation, 20(4), 82–94. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/146643
Section
Research Articles

References

Aiken, Adel G. (2000). The effects of explicit strategy instruction at the world level in a first grade process-based classroom. Dissertation Abstract, from: http://www.lib.umi.com
Buasri, T. (1999). Curriculum theory: Design and Development. Bangkok: Erawan printing. (in Thai)
Candin, C. N. (1984). Syllabus design as a critical process. In C. J. Brumfit (Ed). General English syllabus design. ELT Documents No.118. London: Pergamon Press & the British Council.
Khammani, T. (2005). Learning by learners uses research as part of the learning process. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Pratan, T., et al. (2003). Creating instructional packages for practicing science process skills in pre-primary to higher education. Songkhla: Songkhla Rajabhat University. (in Thai)
Sirichaisin, K., & Wattanatorn, A. (2018). Training curriculum development for junior guides on Wat Phra Sri Rattana Mahathat Vorra Mahaviharn for Patomsuksa V students. Journal of Education Naresuan University, 19(3), 12-23. (in Thai)
Sudrung, J. (2004). A development of the project-based process curriculum to enhance English language skills for upper secondary school students (Master thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Terakul, C. (1998). Science Process Skills of Early Childhood received creative process-oriented arts activities (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)
The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2002). External quality assessment framework for Basic Education. Bangkok: The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (in Thai)
Wasri, P. (2010). National education and local wisdom: Folk wisdom and countryside development (2nd ed.). Bangkok: Amarin Printing & Publishing. (in Thai)
Wongwanich, S., et al. (2006). Educational research and social science. Bangkok: Aksrapipat. (in Thai)