การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามกระบวนการสุนทรียสนทนา สำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ศิริรัตน์ จำปีเรือง
อมรรัตน์ วัฒนาธร
พูลสุข หิงคานนท์
วารีรัตน์ แก้วอุไร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกระบวนการสุนทรียสนทนา สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิธีดำเนินการใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิดการจัดกิจกรรมสุนทรียสนทนา ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุนทรียสนทนา เพื่อนำมาจัดทำเป็นกรอบในการสร้างหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร เป็นการนำหลักสูตรไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ จำนวน 36 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ทำการทดลอง จำนวน 5 หน่วย ใช้เวลาหน่วยละ 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 15 ชั่วโมง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง (One Group Pretest - Posttest Design) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตร เป็นการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อหลักสูตรในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาแนวคิดการจัดกิจกรรมสุนทรียสนทนา พบว่าประกอบด้วย 1) หลักสำคัญของกระบวนการสุนทรียสนทนา ได้แก่ การฟังอย่างลึกซึ้ง การเคารพ การสะท้อน และการเผยตนด้วยเสียงภายใน 2) การจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความเคารพ ได้แก่ การฟังอย่างไม่ตัดสิน เคารพในความเห็นต่าง 3) การจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง ได้แก่ การจับคู่เล่าเรื่องและรับฟังอย่างใส่ใจ 4) การจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดสะท้อนอย่างใคร่ครวญ ได้แก่ การเขียนบันทึก จับคู่สะท้อน ซักถาม 5) การจัดกิจกรรมเพื่อให้เผยออกด้วยเสียงภายใน ได้แก่ การสร้างบรรยากาศและพื้นที่ปลอดภัย

2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย หลักการและเหตุผล คำอธิบายรายวิชา สมรรถนะรายวิชา จุดมุ่งหมายหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3 ขั้น 1) สร้างบรรยากาศ 2) สุนทรียสนทนา และ3) เชื่อมโยงสู่องค์รวม มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากเรื่องเล่าและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ แล้วนำร่างหลักสูตรให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม พบว่า ทุกองค์ประกอบของเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรมีความเหมาะสมมาก (\bar{x}= 4.49, 4.54) นำหลักสูตรไปศึกษานำร่อง พบว่า หลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง

3.  ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง การเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์และการพยาบาลแบบองค์รวม (\bar{x} = 172.31, 109.72 และ 79.58) หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการพยาบาลแบบองค์รวมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

4.  ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต (\bar{x}= 4.52, 4.45 และ 4.52) ของหลักสูตรมีความเหมาะสมมาก

 

คำสำคัญ: หลักสูตร/จิตตปัญญาศึกษา/สุนทรียสนทนา/การจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาล

 

Abstract

The research aimed at developing curriculum to enhance desirable characteristics through dialogue for nursing students. Research and Development (R and D) process model has been adopted to use in the study in 4 steps as follows; step 1 revealing the basic concept used in  dialogue activities of which the data collected with experts in-depth interviews, step 2 constructing curriculum and verifying curriculum quality, step 3 implementing the curriculum of which the sample group was 36 third year of Boromarajonani College of Nursing Sawanpracharak Nakhonsawan studying in the first semester of the 2012 academic year, drawn by means of cluster random sampling.  The samples were tested via one group pretest- posttest design with five learning units, three hours a unit used and fifteen hours were used for the implementation and step 4 evaluationing curriculum of which the openions of nursing students were evaluated.

The results at each step were as follows:

1. The basic concept used in dialogue activities were 1) the principles of dialogue involved with deep listening, respecting , reflecting and voicing 2) the dialogue activities for the respect were; listening without criticism, respecting  different of individuals 3) the dialogue activities for deep listening were; matching for story - telling and empathetic listening 4) the dialogue activities for reflection were; journal writing, matching for reflection and question asking 5) the dialogue activities for voicing were;  creating of supportive atmosphere and comfort zone.

2. Curriculum consisted of rationale, course description, course competencies, objectives, structure, learning activities and measurement and evaluation were found as curriculum components. For learning-activity management, it involved the creation of environment for learning in three steps; creating supportive atmostphere, dialoguing and connecting to holistic nursing.The focal points were storytelling and action learning. The drafted curriculum was evaluated by experts for the appropriateness.The curriculum documents and the supplementary documents found appropriate at high level (\bar{x} = 4.49, 4.54). The curriculum was then piloted for the further improvement. Its result was at high level of appropriateness and ready for the implementation.

3. The implementation of the curriculum found that desirable characteristics in terms of self awareness, human values and holistic nursing was .05 significantly higher level and the holistic nursing was higher than that of the set criteria up to 70%.

4. The evaluation of the curriculum found that curriculum input, process and output were

( \bar{x} = 4.52, 4.45 and 4.52) at high level of appropriateness.

 

Key words: Curriculum/ Contemplative Education/ Dialogue and Deep listening/ Nursing Instruction

Article Details

How to Cite
จำปีเรือง ศ., วัฒนาธร อ., หิงคานนท์ พ., & แก้วอุไร ว. (2014). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามกระบวนการสุนทรียสนทนา สำหรับนักศึกษาพยาบาล. Journal of Education and Innovation, 15(3), 9–15. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16045
Section
Research Articles