การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทาง การพัฒนาการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 17 รูป/คน 2) การสร้างรูปแบบพัฒนาการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยเทคนิค การสนทนากลุ่ม และจากการตรวจสอบเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 9 รูป/คนและ 3) การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 346 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ยังไม่มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการ โครงสร้างและขอบข่ายวิธีการ และกระบวนการนิเทศ ที่ชัดเจนเป็นระบบ และแนวทางการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา 2) หลักการของการนิเทศการศึกษา 3) โครงสร้างของการนิเทศการศึกษา 4) ขอบข่ายงานของการนิเทศการศึกษา 5) วิธีการของการนิเทศการศึกษา 6) กระบวนการของการนิเทศการศึกษา และ 7) เงื่อนไขความสำเร็จของการนิเทศการศึกษา
2. รูปแบบการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา 2) หลักการของการนิเทศการศึกษา 3) โครงสร้างของการนิเทศการศึกษา 4) ขอบข่ายงานของการนิเทศการศึกษา 5) วิธีการของการนิเทศการศึกษา 6) กระบวนการของการนิเทศการศึกษา และ 7) เงื่อนไขความสำเร็จของการนิเทศการศึกษา ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินรูปแบบการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่ามีค่าเฉลี่ยของความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: รูปแบบการนิเทศการศึกษา/ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
Abstract
The main purpose of this study was to identify major components of a model for developing the basic education supervision practices in the general Buddhist scripture schools under the Office of National Buddhism (ONB). The research procedure followed three steps: 1) analyzing and synthesizing concepts and the theories through relevant documents and research findings, related to the actual situations and the ways of the educational supervision practices in Buddhist schools of education level under ONB, and interviewing 17 educational supervision practices in the Buddhist schools. Data were analyzed through content analysis 2) constructing of a tentative model, then checking its appropriateness through focus group discussion and check document among 9 educational supervision experts 3) evaluating the usefulness and feasibility by 346 school principals and teachers in the field; data were analyzed , using means and standard deviations.
The results of the research were as follows:
1. The Current Condition of educational supervision practices in Buddhist schools of education level under ONB there is not the aims, principles, structure, tasks, approach and process. The educational supervision practices in Buddhist schools of education level under ONB of seven main components; aims, principles, structure, tasks, approach, process, and conditions for achievements of educational supervision.
2. The model for the development of educational supervision practices in Buddhist schools of education level under ONB consists of seven main components with overall nineteen associated sub-components; 1) Aims of educational supervision 2) Principles of educational supervision 3) Structure of educational supervision 4) Tasks of educational supervision 5) Process of educational supervision 6) Approach of educational supervision and 7) Conditions required for the achievements of educational supervision. The model yielded the results at a high level of propriety.
3. The evaluation of the constructed model yielded the results at a high level of feasibility.
Key words: Model for the development of educational supervision/ General Buddhist scripture schools
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.