การพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสตรี โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สาลินี มีเจริญ
สุบิน ยุระรัช
อรรณพ จีนะวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสตรี โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. ความเสี่ยงในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของผู้บริหารสตรีตามภารกิจหลัก 4 ด้าน เรียงตามลำดับก่อนหลัง ได้แก่ (1) ด้านงบประมาณ (2) ด้านวิชาการ (3) ด้านบริหารทั่วไป และ (4) ด้านบริหารงานบุคคล ตามลำดับ

2. กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสตรี โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สพฐ. มี 2 ระดับ คือ กลยุทธ์ระดับนโยบาย มีจำนวน 9 ข้อ และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ มีจำนวน 43 ข้อ สำหรับกลยุทธ์ระดับนโยบาย ได้แก่ (1) การพัฒนาบุคลากรด้านการเงิน การบัญชี และงานพัสดุให้มีประสิทธิภาพ (2) การส่งเสริมคุณภาพของงานแผนงานและงานสารสนเทศ (3) การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้นในโรงเรียน (4) การเร่งรัดจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (5) การส่งเสริมให้บุคลากรทำวิจัยทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (6) การพัฒนาและปรับปรุงอาคารสถานที่ให้ทันสมัยและปลอดภัย (7) การสร้างความเป็นเลิศของงานพยาบาล งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ และงานธุรการ (8) การสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารงานบุคคล และ (9) การพัฒนาบุคลากรด้านกฎหมายและสิทธิเด็ก

คำสำคัญ: กลยุทธ์/ การบริหารความเสี่ยง/ ผู้บริหารสตรี/ มัธยมศึกษา

 

Abstract

The main purpose of this research was to develop the risk management strategies of the female administrators in secondary schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC). The major research findings were as follows:

1. The high risks of the female administrators in the secondary schools under OBEC consisted of (1) budget administration, (2) academic administration, (3) general administration, and (4) personnel administration respectively.

2. The female administrators’ risk management strategies in the secondary schools under OBEC were divided into two levels comprising nine policy strategies and 43 operational strategies. The mentioned nine policy strategies consisted of (1) to develop personnel’s effectiveness in financial, accounting and material management, (2) to promote the quality of planning and information management, (3) to build quality culture at school, (4) to rapidly enhance student-centered teaching and learning, (5) to encourage personnel to do educational research continuously, (6) to improve, develop, modernize and secure school’s buildings, (7) to be excellent in nursing, public relations and administration works, (8)  to assure in personnel management, and (9) to develop personnel in the sense of laws and children’s rights.

 

Key words: Strategies/ Risk management/ Female administrator/ Secondary Education

Article Details

How to Cite
มีเจริญ ส., ยุระรัช ส., & จีนะวัฒน์ อ. (2014). การพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสตรี โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 15(3), 40–50. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16049
Section
Research Articles