การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ดุจเดือน เขียวเหลือง
วารีรัตน์ แก้วอุไร
พูลสุข หิงคานนท์
สายฝน วิบูลรังสรรค์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในปัจจุบัน และศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกระบวนการของการสะท้อนคิดที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล 4) ประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล

การวิจัยครั้งนี้ดำเนินไปตามลักษณะของกระบวนการพัฒนารูปแบบ (Development of Instructional Model) ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในปัจจุบัน และศึกษากระบวนการสะท้อนคิดที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและทดลองนำร่องเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้รูปแบบ กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง จำนวน 16 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จำนวน 31 คน ขั้นตอนที่ 4 สัมมนาเพื่อประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน คือ 1) การระบุประเด็นปัญหาทางจริยธรรม 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 3) การวิเคราะห์ทางเลือก 4) การตัดสินใจเลือกและนำไปปฏิบัติ และ 5) การประเมินผลลัพธ์ มีปัญหาอยู่ในระดับมากควรเสริมสร้างแก่นักศึกษาพยาบาล กระบวนการสะท้อนที่มีความสำคัญจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลมี 7 ขั้นตอน

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบดังนี้คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้เน้นการสะท้อนคิดตามขั้นตอน 7 ขั้นตอน คือ 1) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น 2) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ 3) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ 4) เปิดใจรับฟังความคิดเห็น/ทางเลือกที่หลากหลาย 5) จัดลำดับความคิด/หาข้อสรุปร่วมอย่างเป็นเหตุเป็นผล 6) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ 7) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ พบว่า การจัดกิจกรรมตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบสามารถเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล และทำให้นักศึกษาพยาบาลเกิดพฤติกรรมการสะท้อนคิด

3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า 3.1) นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2) นักศึกษามีความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.3) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีพฤติกรรมการสะท้อนคิดโดยรวมอยู่ในระดับดี

4. อาจารย์และนักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตที่ได้รับจากการใช้รูปแบบมีความเหมาะสม

 

คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนรู้/ การสะท้อนคิด/ ความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล

 

Abstract

The purpose of this study were 1) to study teachers’ opinions on current problems of ethical decision-making among student nurses as well as experts’  opinions on the essence and importance of thought reflective process to enhance ethical decision-making in nursing for nurse students, 2) to construct  the Thought Reflection Learning Model, TRLM, to enhance ethical decision-making in nursing for student nurses  and examine its quality, 3) to implement, and  4) to evaluate this learning model.

This research and development study comprised of 4 steps which were 1) studying current problems of ethical decision-making among student nurses and the essence and importance of thought reflection process to enhance ethical decision-making in nursing for student nurses, 2) constructing the learning model and its supplementary learning materials, having seven experts examined the quality, and then conducting a pilot study among sixteen third year student nurses at Boromarajonani College of Nursing, Lampang Thailand to check for the feasibility of the learning model, 3) implementing the developed model at Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Thailand which thirty one student nurses were participated in, 4) evaluating the implementation of the learning model using seminar method.

The results of this study were as follows:

1. The ethical decision-making problems among student nurses, focused on 5 steps including 1) identification the ethical dilemma, 2) data collecting, 3) analysis of alternatives, 4) making the decision and implementation, and 5) evaluation, were at high level. Among student nurses, seven vital steps of thought reflection is essential to enhance their ethical decision-making in nursing.

2. The developed model consisted of (a) principles, (b) objectives, (c) contents, (d) instructional processes, and (e) measurements and evaluations. It has a learning management process focused on thought reflection in 7 steps contained 1) describe experience, 2) feeling, 3) theoretical/ rational/belief, 4) various perspectives, 5) conceptualization, 6) experiment/act, and 7) reflect learning. The experts’ agreement endorsed the developed model quality and its supplementary learning materials at the highest level. Of the pilot study, the result validated the feasibility of learning activities according to the developed model not only enhanced ability to make decision ethically but also embedded to thought reflective behavior among student nurses.

3. As a result of the developed model implementation, it was found that 3.1) The post-test of student nurses’ knowledge on Ethics and Laws in Nursing Profession were higher than their pre-test statistically significance at .01. 3.2) The post-test of the student nurses’ ethical decision-making abilities through the developed model were higher than their pre-test statistically significance at .01. 3.3) The overall thought reflective behaviors of student nurses who took part in the developed model learning activities were at high level.

4. Most teachers and students thought that the input process and output of this model were appropriate.

 

Key words: Learning Model/ Thought Reflection Learning Model/ Ethical Decision-Making in Nursing

Article Details

How to Cite
เขียวเหลือง ด., แก้วอุไร ว., หิงคานนท์ พ., & วิบูลรังสรรค์ ส. (2014). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. Journal of Education and Innovation, 15(4), 9–21. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16096
Section
Research Articles