การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง DEVELOPMENT OF EARLY CHILDHOOD CHILDREN’S CREATIVITY AND INNOVATION SKILLS THROUGH CONSTRUCTIVISM EXPERIENCE ORGANIZING

Main Article Content

เรณู ศรีบุรินทร์
รัชชุกาญจน์ ทองถาวร
ไพบูลย์ อุปันโน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเองในการพัฒนาทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเด็กปฐมวัย และ 2) เพื่อศึกษาทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยเป้า สังกัดเทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง จำนวน 3 หน่วย รวมทั้งหมด 20 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมจำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 ผู้วิจัยใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพแบบ ก ของทอแรนซ์ ซึ่งปรับมาจาก อารี รังสินันท์ ชุดที่ 2 แบบทดสอบวัดทักษะนวัตกรรมซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นการประเมินเชิงปฏิบัติ จำนวน 5 ชุดประกอบด้วยชิ้นงานและชุดอุปกรณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้านทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง (MTPA Model) เทียบกับเกณฑ์ความแตกต่างที่ร้อยละ 30.00 ขึ้นไป นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า
1. ได้แผนจัดประสบการณ์จำนวน 3 หน่วย รวมทั้งหมด 20 แผนซึ่งเป็นแผนจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง (MTPA Model) ในการพัฒนาทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย หน่วยที่ 1 หน่วยหิน ดิน ทราย จำนวน 6 แผน หน่วยที่ 2 มหัศจรรย์พลังงาน จำนวน 9 แผน และหน่วยที่ 3 ความลับของหญ้าแฝก จำนวน 5แผน ซึ่งจากการนำแผนไปใช้จริง พบว่า เป็นแผนที่สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ตามวัตถุประสงค์
2. ผลการศึกษาทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การสร้าง สรรค์ความรู้ด้วยตนเอง พบว่า ทักษะสร้างสรรค์หลังการจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตัวเอง (MTPA Model) เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเรียนในภาพรวม พบว่า คะแนนก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 37.09 และคะแนนหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 76.43 มีค่าความต่างร้อยละ 39.34 ถือว่าผ่านเกณฑ์การยอมรับที่ค่าความต่างร้อยละ 30.00 และทักษะด้านนวัตกรรมของเด็กปฐมวัย เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเรียนในภาพรวม พบว่า คะแนนก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 42.30 และคะแนนหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 80.90 มีค่าความต่างร้อยละ 38.60 ถือว่าผ่านเกณฑ์การยอมรับที่ค่าความต่างร้อยละ 30.00 สรุปได้ว่าเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
ศรีบุรินทร์ เ. ., ทองถาวร ร. ., & อุปันโน ไ. . (2019). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง: DEVELOPMENT OF EARLY CHILDHOOD CHILDREN’S CREATIVITY AND INNOVATION SKILLS THROUGH CONSTRUCTIVISM EXPERIENCE ORGANIZING. Journal of Education and Innovation, 24(1), 246–258. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/168748
บท
บทความวิจัย

References

Brahmawong, C. (1978). Innovation and educational technology and kindergarten teaching. Bangkok: Thaiwattana Panich. [in Thai]

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2003). Early childhood education curriculum B.E. 2546. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]

Kawwijit, M. (2010). Development of rational thinking ability of early childhood through experience management by constructivism. Chiang Mai: Faculty of Education Chiang Mai University. [in Thai]

Klomim, K., Namnak, C., Kaewurai, W., & Thumrongsothisakul w. (2014). A development of learning model based on constructivist theory of a scaffolding to enhance mathematic problem solving skill for lower for the mattayomsuksa 1. Journal of Education Naresuan University, 16(2), 129-133. [in Thai]

Moonngam, R. (2010). Development of science process skills for early childhood through constructivism experience organizing. Chiang Mai: Faculty of Education Chiang Mai University. [in Thai]

Panich, V. (2012). 21st century learning path for disciples. Bangkok: Sadsri-Saritwong Foundation. [in Thai]

Phanmanee, A. (1994). Creativity. Bangkok: Ton Aor. [in Thai]

Pornkul, C. (2001). CATS: A student-centered instructional model. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Sarattana, V. (2013). New paradigms in education perspectives on 21st century education. Bangkok: Thippayawisood Limited Partnership. [in Thai]

Tantipalajiva, K. (2008). Learning activities for preschool children. Bangkok: Mitsumphan Graphic. [in Thai]

Thamboworn, N. (2006). Development of cognitive processes in early childhood. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Tongthaworn, R. (2003). Early childhood constructivist teaching practices and philosophies of Thai teacher with four-to five-year-old students (Doctoral Dissertation). Pennsylvania: Indiana University of Pennsylvania.

Tongthawon, R. (2014). Model of constructivism experience for early childhood children. Chiang Mai: Faculty of Education Chiang Mai University. [in Thai]

Wolfe, J. M. (2001). Asymmetries in visual search: An introduction. Perception and Psychophysics, 63(3), 381-389.