ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้

Main Article Content

วิลา มณีอินทร์
วิไล ทองแผ่
กิรณา เกี๋ยสกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 50 คน จาก 15 โรงเรียนของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (two stage sampling) คือ ขั้นที่ 1 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจาก 15 โรงเรียน ให้เหลือ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น จำนวนเด็กปฐมวัย 28 คน และโรงเรียนวัดคูบัว จำนวนเด็กปฐมวัย 22 คน ขั้นที่ 2 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เพื่อเลือกวิธีการจัดประสบการณ์ ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น เป็นกลุ่มที่1ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และโรงเรียนวัดคูบัว เป็นกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน/ การเรียนรู้แบบโครงการ/ การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

 

Abstract

The research aimed to compare 1) the basic science skills of early childhood before and after learning a project approach 2) the basic science skills of early childhood before and after learning an inquiry method and 3) the basic science skills of early childhood between learning the project approach and the inquiry method. The sample that chosen by simple random sampling were five years old early childhood who study in the second preschool level in the first semester of the 2013 academic year, 22 students from Watkubao School and 28 students from Watwungnamyen School. The first group is teached by the project approach while the second group learn by inquiry method. The research instruments were 1) the project approach plan 2) the inquiry method plan and 3) the basic science skills of early childhood test that be show the reliability was 0.813. The basic data analysis was calculated by percentage, standard deviation and t-test.

The results showed that

1. Basic science skills of early childhood after learning the project approach was higher than before learning statistically significant at the .05.

2. Basic science skills of early childhood after learning the inquiry method was higher than before learning statistically significant at the .05.

3. Between learning the project approach and the inquiry method, the basic science skills of early childhood was not different.

Key words: the basic science skills/ learning a project approach/ learning an inquiry method

Article Details

How to Cite
มณีอินทร์ ว., ทองแผ่ ว., & เกี๋ยสกุล ก. (2014). ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้. Journal of Education and Innovation, 16(1), 1–11. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16913
Section
Research Articles