การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนธรรมะสำหรับพระภิกษุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

Main Article Content

พระครูวิบูล เจติยานุรักษ์
วิไล ทองแผ่
สันติ แสงสุก

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนธรรมะสำหรับพระภิกษุในโรงเรียน 3) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุในโรงเรียน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ใช้อำเภอเป็นหน่วยในการสุ่มโดยจับสลากจาก 10 อำเภอ สุ่มมา 1 อำเภอได้อำเภอดอนเจดีย์มีจำนวนพระภิกษุ 38 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) หลักสูตรฝึกอบรม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.844 5) แบบประเมินทักษะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 6) แบบสอบถามเจตคติที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ทุกภาคส่วนมีความเห็นตรงกันถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมจะทำให้พระภิกษุได้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธเจ้า และเป็นเข็มทิศในการปฏิบัติงานของพระภิกษุให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ยังเป็นการพัฒนา การสอนธรรมะให้ทันกับโลกปัจจุบัน และจะช่วยพัฒนาพระภิกษุให้มีความรู้ความเข้าใจตรงกันในด้านหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอนธรรมะในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าหลักสูตรฝึกอบรมจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

2. การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหาสาระระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมฝึกอบรม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และการวัดและประเมินผล ซึ่งมีแผนการฝึกอบรม จำนวน 6 แผน ผลการประเมินหลักสูตรของผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีความสอดคล้องและเหมาะสม

3. การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า พระภิกษุมีความสนใจ และกระตือรือร้นในการฝึกอบรมเป็นอย่างดี ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน ได้ทราบถึงวิธีการต่างๆ ในการสอนอย่างถูกวิธี รวมทั้งได้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และมีความรู้ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

4. การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า พระภิกษุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 มีทักษะในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านเจตคติต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด และได้ปรับปรุงหลักสูตรในเรื่องเวลาที่ใช้ในการอบรมเพิ่มวันละ 1 ชั่วโมง จากวันละ 6 ชั่วโมงเป็น 7 ชั่วโมง

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนธรรมะ/ การสอนธรรมะ/ การสอนธรรมะสำหรับพระภิกษุ

 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the fundamental information of curriculum development, 2) to develop training courses on teaching Dharma for the monks in the school, 3) trial of training courses, 4) evaluate and improve training courses. The sample was taken from the monks in the school by simple random sampling. The district was used as the unit for sampling by drawing lots from 10 districts randomly selected one district, and Don Chedi District was selected. There were 38 monks in Don Chedi Dictrict. The research instruments used in this research included of 1) Questionnaires, 2) interview, 3) training courses, 4) achievement tests with a reliability of 0.844, 5) lesson plan writing skill evaluation form, 6) attitude questionnaire on training courses. The data were analyzed using the mean, standard deviation, percentage, t-test, and analysis of content.

The results were as follows:

1. The basic information study found that all sectors have agreed to the importance and the need to develop training courses to make monks have access to Dharmic principles and being as a compass in the execution of the monks. In addition, it was the development in teaching Dhamma to keep up with the current world, and helped to develop the monks to understand the courses, and effective instructional development for Dhamma in the school. Therefore, it could be seen that training course is extremely important and necessary.

2. The curriculum development consisted of principles, purposes, scope of subject matter,   time period spending on training, holding training activities, media and materials, and measurement and evaluation. This training has 6 training course plans.  The results from an expert assessment were found that it was consistent and appropriate.

3. The trial of a training course was found that the monks were interested, and curious in training well, and they have exchanged ideas and suggestions to be applied to work. They have known various teaching methods correctly, including obtaining the guidelines in developing quality instruction, and they have knowledge to write learning management plans

4. The evaluation and curriculum modification had found that the monk achievement after training were higher than before training statistically significant at the .01 level. The monks had skills to write learning management plan as a whole at a high level. The attitudes toward the course were at the highest level, and the curriculum was modified in the aspect of the time spent in training.

Key words: Development of Training Courses on Teaching Dharma/ Dhamma teaching/ Teaching the Dhamma for monks

Article Details

How to Cite
เจติยานุรักษ์ พ., ทองแผ่ ว., & แสงสุก ส. (2014). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนธรรมะสำหรับพระภิกษุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. Journal of Education and Innovation, 16(1), 12–23. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16914
Section
Research Articles