กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

พัทธิพงศ์ พลอาจ
ระมัด โชชัย
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการ ศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การวิจัยกระทำเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 312 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และจากการสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน 2) เมื่อทราบสภาพ และปัญหาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรแล้ว จึงจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จด้านการบริหารโรงเรียน 4 แห่ง และประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) จำนวน 2 ครั้ง เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) และจัดทำร่างกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของกลยุทธ์ 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยประเมินด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางกลยุทธ์ จำนวน 17 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร มีลักษณะการดำเนินงานตามโครงสร้างอย่างชัดเจนแต่สามารถยืดหยุ่นได้เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยวิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก (SWOT Analysis) มี 12 กลยุทธ์ มาตรการในการดำเนินการตามกลยุทธ์จำนวน 36 มาตรการ และตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสำเร็จจำนวน 54 ตัวชี้วัด 3) ผลการประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องในระดับมาก มีความเป็นไปได้ในระดับมาก มีความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ในระดับมาก และมากที่สุด

คำสำคัญ : กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา/ องค์การแห่งการเรียนรู้

 

Abstract

The objectives of this research were: 1) study the conditions, problems of learning organization of opportunity expansion schools in Kamphaengphet. 2) to develop strategic development  for opportunity expansion schools in Kamphaengphet to be the learning organization and 3) to evaluate the strategies for development opportunity expansion schools in Kamphaengphet for Learning Organization. This research was conducted in 3 steps. 1) to study the conditions, problems of learning organization of opportunity expansion schools in Kamphaengphet were examined by using a questionnaire from the opinion of 312 subjected and consisted principals, teacher and focus group discussion of 20 samples. 2) to develop strategies for development opportunity expansion schools in Kamphaengphet for learning organization were conducted by interviewing the director of 4 schools which were regarded as best practices schools in management including workshop 2 times by SWOT analysis for making strategic development for opportunity expansion schools in Kamphaengphet to be the learning organization. In addition, continue to criticize and comment with connoisseurship 3) assessing the consistency, propriety, feasibility, and utility of the development strategy by 17 experts.

Result of the study: 1) the conditions, problems and learning organization of opportunity expansion schools in Kamphaengphet found that the opportunity expansion schools had to follow their explicit missions according to the instruction guideline but can flexible for decrease step working. The overall problem conditions were at a moderate level. 2) To develop strategies for opportunity expansion schools in Kamphaengphet to learning organization by SWOT analysis and group seminars, there were 12 strategies, 36 measures and 54 indicators. 3) The result of strategy’s consistency, propriety, feasibility, and utility assessment found that the strategy’s consistency was at the high level, the feasibility  was at a high level, and the propriety and utility were at a high and the highest level respectively.

Key words: Strategy for Opportunity Expansion Schools Development/ Learning Organization

Article Details

How to Cite
พลอาจ พ., โชชัย ร., & มีแจ้ง ส. (2014). กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. Journal of Education and Innovation, 16(1), 24–39. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16915
Section
Research Articles