การพัฒนากลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1.1) โดยวิธีการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.2) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เพื่อกำหนดกรอบงานบริการวิชาการแก่สังคม 1.3) ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างซึ่งเป็นผู้ให้บริการวิชาการ 297 คน และผู้รับบริการวิชาการในเขตพื้นที่บริการภาคเหนือตอนล่าง 450 คน เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการบริการวิชาการแก่สังคม 2) ยกร่างกลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2.1) จัดทำร่างกลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญ 13 คน โดยพิจารณาผลการศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการการบริหารวิชาการแก่สังคมจากขั้นตอนที่ 1 และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) นำผลมาจัดทำร่างกลยุทธ์ฯ 2.2) ตรวจสอบร่างกลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 9 คน 3) ประเมินกลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างที่พัฒนาขึ้น โดยประเมินด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการปฏิบัติงานการบริการวิชาการ ตามความคิดเห็นของอาจารย์ พบว่า ข้อที่อาจารย์จำนวนมากที่สุดเห็นว่ามีการปฏิบัติความได้แก่ มีประเมินพึงพอใจของการให้บริการวิชาการด้านความรู้และประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นทุกโครงการ/กิจกรรม และข้อที่อาจารย์จำนวนมากที่สุดเห็นว่ามีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การพิจารณาแนวทางเรื่องค่าตอบแทน/รางวัลที่พึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ปัญหาการบริการวิชาการโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการการบริการโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นของบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้รับบริการวิชาการ พบว่า ข้อที่จำนวนบุคคลภายนอกจำนวนมากที่สุดเห็นว่ามีการปฏิบัติ ได้แก่ บุคลากรในหน่วยงานนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ และข้อที่เห็นว่ามีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ งานบริการด้านติดตั้ง จัดวาง ตรวจสอบระบบงานของหน่วยงาน ปัญหาการบริการวิชาการโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการการบริการวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก
2. ผลการยกร่างกลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง พบว่ามีลักษณะกลยุทธ์แบบการปรับตัว (WO) หมายถึงสถานการณ์ที่มหาวิทยาลัยมีปัญหาอุปสรรคภายในเป็นจุดอ่อน (Weaknesses) แต่สภาพแวดล้อมภายนอกมีโอกาส (Opportunities) ที่เป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขัน จึงต้องแก้ไขจุดอ่อนภายในให้พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดให้วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างคือมีความเข้มแข็งด้านการบริการวิชาการเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สังคม และประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 5 พันธกิจ 5 ประเด็นกลยุทธ์ 5 เป้าประสงค์ 10 กลยุทธ์ 24 ตัวชี้วัด และ 41 มาตรการ ประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 1) ปรับปรุงกระบวนการวางแผนการบริการวิชาการเชิงรุกโดยใช้การมีส่วนร่วมและใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ 2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการวิชาการ 3) พัฒนาระบบการบริการวิชาการ 4) พัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากรด้านการบริการวิชาการ 5) พัฒนากลไกการจัดการทรัพยากรการบริการวิชาการทั้งภายในและภายนอก 6) พัฒนากระบวนการและทรัพยากรการบูรณาการการบริการวิชาการกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย 7) ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่สังคมที่ตอบสนองและชี้นำท้องถิ่น สังคมและประชาคมอาเซียน 8) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการบริการวิชาการ 9) ส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมการบริการวิชาการ 10) พัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการให้บริการวิชาการ
3. ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า ด้านความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : กลยุทธ์/ การบริการวิชาการ/ สังคม/ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง
Abstract
The purposes of this research was to develop the strategies of the academic services for the community of Rajabhat universities in the lower northern region. The procedure was divided into 3 steps: 1) Studying the conditions, the problems, and the needs of the services for the community of Rajabhat universities in the lower northern region by using the document analysis, interviewing 5 experts. The document analysis and questionnaire has used to collect the data from 297 samplings who are the academic lecturers and 450 samplings from 6 groups of Rajabhat universities in the lower northern region service areas’ stake holders. 2) Drafting the strategies by inviting related 13 experts and administrators from Rajabhat universities in the lower northern region to join the workshop by considering the results from first step, using SWOT Analysis technique and assessing an accuracy of the strategies by connoisseurship with 9 experts. 3) Assessing the improved strategies by collecting the data from 17 experts.
The research results found that
1. The academic lecturer’s perspective, the condition of the academic services that was well-performed was satisfactory evaluation which performed in every projects/activities on both education and experience sides. The topic that was not well - performed was payment/rewards. The problems of the academic services were at moderate level. The needs of the academic services were in high level. From the stakeholder’s perspective, the well-performed condition was that the academic staff could apply knowledge into utility. The topics that were not performed were the installing, arranging, and monitoring system. The problems were at moderate level. The overall needs were at high level and in each topic were at moderate to high level.
2. The results of developing, the strategies position was turnaround-oriented strategy (WO). The strategies development of academic services of Rajabhat universities in lower northern region under the visions of Rajabhat universities in the lower northern region which achieved the strength of academic services and also integrated with local community, society and ASEAN community consisted of 5 missions, 5 strategic issues, 5 goals and 10 strategies with 24 key performance indicators and 41 criteria. The 10 strategies are 1) Improve the approaching academic planning management system by participation and decision support information systems. 2) Develop the information system for academic services. 3) Develop academic services system. 4) Develop personel and organization’s academic service potentials. 5) Develop internal and external academic services management mechanism. 6) Develop processes and resources used in integration of academic services and universities’ visions. 7) Promote academic services to communities which meet and guide to local communities, society and ASEAN community. 8) Develop academic services networking. 9) Promote knowledge transfer and innovations in academic services. 10) Develop academic services evaluating systems.
3. The results of the strategic development found that the consistency and suitability were at the highest level, feasibility and utility were at high level.
Key words: Strategy/ Academic Services/ Community/ Rajabhat universities in the lower northern Region
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.