ผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้ เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา

Main Article Content

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษาระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา ระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานและกลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โดยออกแบบงานวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและมีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง (Pretest-Posttest Control-Group Design) ซึ่งเก็บข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา GE140 ประชาคมอาเซียน ในภาคการศึกษาที่ 1/2556 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมอาเซียน แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานและกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test Independent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) นักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานในภาพรวมที่ระดับค่อนข้างสูง

คำสำคัญ: การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน/ ความรู้/ วัฒนธรรมอาเซียน

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to compare students’ knowledge of ASEAN culture before and after learning through research-based learning; 2) to compare their knowledge of ASEAN culture between research-based learning group and traditional learning group; and 3) to study their satisfaction on research-based learning. The pretest-posttest control-group design was used in this study by collecting the data from 92 Dhurakij Pundit University students who enrolled in “GE140 ASEAN Community” course in the first semester of the academic year 2013. They were divided into one experimental group (n = 40) and one control group (n = 52). Research instruments consisted of assessment form about students’ knowledge of ASEAN culture, questionnaire about students’ satisfaction on research-based learning, research-based learning and traditional learning activities, and interview form about students’ opinion on research-based learning. Descriptive statistics, paired t-test, independent t-test, and content analysis were used to analyze the data collected. The results showed that: 1) after learning through research-based learning, their knowledge of ASEAN culture was statistically significantly higher than before learning (p-value< 0.001); 2) research-based learning group’s knowledge of ASEAN culture was statistically significantly higher than traditional learning group (p-value< 0.05); and 3) their overall satisfaction on research-based learning was at slightly high level.

Key words: Research-based learning/ Knowledge/ ASEAN culture

Article Details

How to Cite
วิภัติภูมิประเทศ ธ. (2014). ผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้ เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา. Journal of Education and Innovation, 16(1), 54–62. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16917
Section
Research Articles