การพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ชนะ สุ่มมาตย์
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1 การศึกษาสภาพและความต้องการการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย 1) สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) สอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 780 คน เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) สำรวจสภาพแวดล้อมโดยประยุกต์ใช้วิธี SWOT Analysis เกี่ยวกับสภาพการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (กตปน.) เขตพื้นที่การศึกษาละ 9 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 81 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยร่างรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบฯด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มผู้ร่วมประเมินคือ ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 36 คน โดยใช้รูปแบบที่สร้างขึ้นนำไปศึกษาและประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าศึกษาสภาพและความต้องการ แบบสำรวจสภาพแวดล้อมศึกษาสภาพการบริหารการนิเทศการศึกษา ร่างรูปแบบฯ ประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าเพื่อประเมินความเป็นประโยชน์ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏผล ดังนี้

1. สภาพและความต้องการการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ 1.1) สภาพการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 780 คน พบว่า ในภาพรวมมีสภาพการบริหารการนิเทศการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 1.2) ความต้องการการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากกลุ่มอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 780 คน พบว่า การกำหนดนโยบายและแผนการบริหารการนิเทศการศึกษามีความต้องการความถี่สูงสุด

2. รูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากผลการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์สภาพและความต้องการ การสำรวจสภาพแวดล้อม สร้างและตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และการประเมินรูปแบบ พบว่า มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การกำหนดนโยบายและแผนการบริหารการนิเทศการศึกษา ประกอบด้วย (1) ศึกษาสภาพปัญหา (2) วิเคราะห์ความต้องการของสถานศึกษา (3) วางแผนการนิเทศ (4) กำกับติดตามการใช้แผนการนิเทศ และ (5) สรุปผลการกำกับ ติดตามการใช้แผนการนิเทศ 2) การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) เครือข่ายการบริหารการนิเทศการศึกษา และ (2) การมีส่วนร่วมของเครือข่าย 3) การสร้างขวัญกำลังใจในความมั่นคงและความปลอดภัย ประกอบด้วย (1) มาตรการรักษาความปลอดภัย (2) สวัสดิการและสวัสดิภาพ (3) ความมั่นคงและความก้าวหน้าในวิชาชีพ (4) การเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเอง และ (5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการนิเทศการศึกษาประกอบด้วย (1) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (2) ระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ประกอบด้วย (1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล (2) การเสนอโครงการ (3) คณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล (4) ประชุมคณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล (5) การสร้างเครื่องมือการนิเทศ (6) นิเทศ ติดตามผล และ (7) ประเมินผลและรายงานผล ทั้ง 5 องค์ประกอบมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

3. การประเมินรูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: บริหารการนิเทศการศึกษา/ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้/ การพัฒนา/ รูปแบบ

 

Abstract

The main objective of this research was to develop an educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces with the following sub- objectives were; 1) to study the actual situations and requirements of educational supervision and administration model for educational service area office in special development  zone in the three southern border provinces 2) to construct and check the development of educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces and 3) to find the feasibility of the educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces.

The study was conducted through three phases.Phase 1,studying the actual situations and requirements of educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces through analysis of research and related literature for educational supervision and administration concepts;surveying for the opinions of 780 administrators and teachers; exploring the environment(swot analysis) for the opinions of 81 supervision committee in the educational service area office in special development zone in the three southern border provinces. Phase 2,drafting the tentative model of educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces based on the results from phrase 1,and validating the draft model through focus group discussion by 10 educational experts.Phrase 3, evauating the development of educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces by 36 administrators,supervisors and teachers,using the self-constructed instruments: 1) The model of educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces and 2) Evaluation form for usefulness of the model.Research instruments were questionnaire(rating scale), survey questionnaire(open ended question),the model and focus group discussion issues.Statistics was used for data analysis were means and standard deviations.

The study reveal the following results :

1. The actual situations and requirements of educational supervision and administration model for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces : 1.1) The actual situations and of educational supervision and administration was commented by 780 administrators and teachers was at middle level. 1.2) The requirements of educational supervision and administration was commented by 780 administrators and teachers was policy and plan specification of educational supervision and administration that at the highest level.

2. The educational supervision and administration model were constructed for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces consist of five main components were 1) policy and plan specification of educational supervision and administration with studying  the state of the problem,analyzing the requirements of schools,planning on monitorial supervision,monitoring the using supervision plan and concluding and reporting the result of the using supervision plan 2) building networks and participation with the network of educational supervision and administration and participating of the networks 3) building morale of the security and the safety with the measure heals the safety, the welfare and the safety ,the security and the progress in vocation,defensive measure oneself learning and information acknowledgement 4) using information technology for educational supervision and administration with the information technology system and the information technology administration system and 5) monitorial supervision and evaluation with analyzing the data, performing the plan and the project, choosing and appointing the monitorial supervision committees, meeting the monitorial supervision committees, building the tool of supervision,performing monitoring supervision and concluding and reporting the resulting of monitorial supervision and five main components has been evaluated at high level of possibilities and appropriateness.

3. The model of educational supervision and administration for educational service area office in special development zone in the three southern border provinces has been evaluated that at the highest level of usefulness.

Key words: Educational Supervision and Administration/ Educational Service Area Office in Special Development Zone in the Three Southern Border Provinces/ Development/ Model

Article Details

How to Cite
สุ่มมาตย์ ช., ชาตรูประชีวิน ฉ., ภักดีวงศ์ ภ., & กอนพ่วง อ. (2014). การพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Journal of Education and Innovation, 16(1), 63–77. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16918
Section
Research Articles