การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาโรงเรียนศึกษา เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียน ด้วยกระบวนการวิธีวิจัยผสมผสาน : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

Main Article Content

ผกามาศ บุญเผือก
วารีรัตน์ แก้วอุไร
อมรรัตน์ วัฒนาธร
ปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ พัฒนาหลักสูตรรายวิชาโรงเรียนศึกษา เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียน ด้วยกระบวนการวิธีวิจัยผสมผสาน กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี โดยมีขั้นตอนการวิจัยและใช้แบบแผนการวิจัยแบบผสมผสาน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบรองรับภายใน ซึ่งใช้วิธีเชิงคุณภาพเป็นหลัก เพื่อมุ่งหาอัตลักษณ์โรงเรียน 2) ขั้นสร้างหลักสูตร ใช้แบบแผนการวิจัยแบบรองรับภายใน ซึ่งใช้วิธีเชิงปริมาณเป็นหลัก 3) ขั้นทดลองใช้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบรองรับภายใน รูปแบบการทดลองระยะเดียว ซึ่งใช้วิธีเชิงปริมาณเป็นหลัก และ 4) ขั้นประเมินหลักสูตร ใช้แบบแผนการวิจัยแบบคู่ขนาน ซึ่งให้ความสำคัญกับวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เท่าเทียมกัน โดยนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หลักสูตรรายวิชาโรงเรียนศึกษา “เฉลิมขวัญสตรีศึกษา” 2) แบบวัดคุณลักษณะตามอัตลักษณ์โรงเรียน และ 3) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนของการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

1. อัตลักษณ์โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีคือ “เป็นเลิศในความรู้ ยึดมั่นเชิดชูในความดี วิถีชีวิตมีคุณภาพ” การพัฒนาหลักสูตรใช้ 5 ขั้นตอน คือ ศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนกำหนดผลการเรียนรู้ คัดเลือกจัดลำดับเนื้อหาสาระ คัดเลือกจัดระเบียบประสบการณ์การเรียนรู้ และกำหนดสิ่งที่วัดผล และวิธีการประเมิน โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นจูงใจให้ใฝ่รู้ มุ่งสู่เนื้อหา นำพาปฏิบัติ เด่นชัดหลักการ ผสานใช้ในชีวิต และก่อกิจให้เป็นนิสัย

2. หลักสูตรรายวิชาโรงเรียนศึกษา “เฉลิมขวัญสตรีศึกษา” ประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 หลักสูตร และส่วนที่ 2 เอกสารประกอบหลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียน จากการหาคุณภาพของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรมีคุณภาพและความเหมาะสมที่จะนำไปใช้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. คุณลักษณะผู้เรียนตามอัตลักษณ์ ด้านความเป็นเลิศในความรู้ (ความเก่ง) ด้านการยึดมั่นเชิดชูในความดี (ความดี) และด้านวิถีชีวิตมีคุณภาพ(ความสุข)โดยภาพรวมทุกด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลการประเมินหลักสูตรเชิงระบบ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Output) และผลกระทบ (Impact) ของหลักสูตร โดยภาพรวมทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด มีความคุ้มค่าเหมาะสมที่จะนำไปใช้ มีกระบวนการใช้หลักสูตร การวัดและประเมินผลที่ดีทำให้ผลการประเมินผลผลิตของหลักสูตรและผลกระทบที่เกิดจากหลักสูตร เป็นที่พึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร

คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร/ อัตลักษณ์โรงเรียน/ การวิจัยแบบผสมผสาน

 

Abstract

This research aimed to study the development of course curriculum on school study for create school identity based on mixed methods research: a case study of Chalermkwansatree School. The 4 integration of research process and mixed methods were used as follows: 1) the study of basic information, using embedded design which focused on qualitative to seek for school identity 2) the making curriculum, using embedded design which focused on quantitative. 3) experiment curriculum, using embedded design as one group  pretest-posttest design which focused on quantitative and 4) curriculum evaluation, using convergent parallel design which emphasized equally both quantitative  and qualitative. The developed curriculum was used with the purposive sampling of 51 students for 1 class of mattayomsuksa 1 in 2012 academic year, Chalermkwansatree School. Tools used in this research were: 1) course curriculum on school study “Chalermkwansatree study” 2) school identity characteristics test 3) data collection according to research.

The results at each step were as follows:

1. Chalermkwansatree School identity is “Excellent in Knowledge, Consistent in goodness,  High–quality of Life” using 5 steps to develop curriculum; studied  the need of school’s stakeholders, set learning outcomes, selected grading content, selected organizing learning experience and set the measurement including evaluation methods, applying to the 6 steps of learning management ; motivate for learning, focus on the content, lead for practice, clear for principles, merge for life and do for habit.

2. Course curriculum on school study “Chalermkwansatree study” consisted of 2 parts; the first was the curriculum document and the second was supporting curriculum document and supporting learning document. From finding curriculum quality by the experts, it was found that this curriculum had high quality and suitable to use as a whole in the highest level.

3. The result from experimenting this curriculum found that the learners’ identity evaluation in excellent in knowledge (clever) consistent in virtue (goodness) and high – quality of Life (happiness) as a whole, the study is higher than previously studied statistically significant at the .01 level.

4. The result from systematic curriculum evaluation found that the input, the process, the output and the impact of this curriculum, as a whole, was suitable at the highest level in every aspect curriculum was practical rewarding to use, high procedure in using curriculum measurement and good evaluation that made curriculum evaluation result output and curriculum impact was satisfied by shareholders using curriculum.

Key words: Development of Course Curriculum/ School Identity Based/ Mixed Methods Research

Article Details

How to Cite
บุญเผือก ผ., แก้วอุไร ว., วัฒนาธร อ., & ประจันบาน ป. (2014). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาโรงเรียนศึกษา เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียน ด้วยกระบวนการวิธีวิจัยผสมผสาน : กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี. Journal of Education and Innovation, 16(1), 98–107. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16921
Section
Research Articles