นโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ในประเทศอาเซียนบวกสาม: กรณีประเทศมาเลเซีย

Main Article Content

ทักษ์ อุดมรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษา ซึ่งอยู่ในชุดโครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ของประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสาม และข้อเสนอเพื่อการประยุกต์ใช้กับประเทศไทย” ซึ่งผู้วิจัยได้รับมอบหมาย ให้ทำการศึกษากรณีของประเทศมาเลเชีย ตามกรอบข้อตกลง (Terms of Reference) ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ดำเนินการวิจัยระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์เอกสารเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทย ในการประชุม สัมมนาแบบเปิด 1 ครั้ง และการประชุมสัมมนาแบบกลุ่มเฉพาะ 1 ครั้ง ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ผลการวิจัย พบว่า ประเทศมาเลเซียกำลังส่งเสริมการเรียนการสอนภาษามลายู ในฐานะภาษาประจำชาติ และสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาที่สอง ตั้งแต่เด็กเข้าเรียนในระดับอนุบาล นโยบายการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารถูกเน้นในทุกระดับการศึกษาของมาเลเซีย ในขณะที่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและอุดมศึกษาเน้นภาษาอังกฤษเชิงวิชาการด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีนโยบายให้ ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาในเอเชียเพิ่มขึ้นในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศด้วย เน้นภาษาญี่ปุ่น เกาหลี จีน และไทย มียุทธศาสตร์สำคัญในการส่งเสริมภาษาต่างประเทศ คือ การพัฒนาครู และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ๆ

คำสำคัญ: การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ/ นโยบายและยุทธศาสตร์/ ประเทศมาเลเซีย 

 

Abstract

This research was a case study, as a part of the research project, “A Comparison of the Policies and Strategies for the Promotion of Foreign Language Education in ASEAN+3 Countries”, supported by the Office of Education Commission (OEC). The methodology is qualitative, mainly based on documentary analysis of policy papers and related documents. The analyzed data were validated twice in an open seminar and a focus seminar held by OEC. The findings revealed that Malaysia is promoting Bahasa Melayu as the national language. English is being taught as the second language since a child is in kindergarten. English language education policies are utilitarian in nature, based on the viewpoint that English is the language for academic and technological advancement. Teaching communicative English is focused throughout all levels of education in Malaysia, while academic English is also emphasized in general high schools and higher education.   Recently, Asian languages are additionally promoted, focusing on Japanese, Korean, Chinese, and Thai. Major strategies for promotion of foreign language education in Malaysia include language teacher development and promotion of Information and Communication Technology for foreign language education.         

Key Words: Foreign Language Instruction/ Policies and Strategies/ Malaysia 

Article Details

How to Cite
อุดมรัตน์ ท. (2014). นโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ในประเทศอาเซียนบวกสาม: กรณีประเทศมาเลเซีย. Journal of Education and Innovation, 16(1), 127–139. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16924
Section
Research Articles