การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

สิรินภา กิจเกื้อกูล
ธิติยา บงกชเพชร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นมหาบัณฑิต นิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และอาจารย์ผู้สอน ที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ องค์ประกอบหลักสูตร การดำเนินการใช้หลักสูตร และคุณลักษณะของนิสิตที่ศึกษาในหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างมีทั้งสิ้น 55 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบประเมินที่มีลักษณะเป็นแบบประเมินค่า (rating scale) 5 ระดับ ร่วมกับการเขียนตอบอิสระ การวิเคราะห์ข้อมูลจะจำแนกตามแขนงวิชาเอก ได้แก่ แขนงวิชาวิทยาศาสตร์ แขนงวิชาคณิตศาสตร์ และแขนงวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีการจำแนกข้อมูลตามระบบการศึกษา จากนั้นวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นิสิตทุกแขนงวิชาและทุกระบบการศึกษา คิดว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุดในด้านการจัดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ส่วนในด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรนั้นมีความเหมาะสมน้อยที่สุด นอกจากนี้ นิสิตเสนอให้มีการปรับปรุงหลักสูตรในเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชาเอกเลือก จำนวนวิชาเอกบังคับ การจัดแผนการศึกษา โครงสร้างของวิชาวิทยานิพนธ์  และจำนวนอาจารย์

 

Abstract

This research aimed to explore 55 samples’ perspective on a curriculum, the Master of Education in Science Education (revised 2009) of the Faculty of Education, Naresuan University.  The samples were graduates, graduate students, thesis supervisors and course lecturers. The perspective was based on the curriculum elements, the curriculum implementation and the learning outcome, and was exposed through research instrument. It was an evaluation form with 5-point rating scale and open-ended questions. Data were firstly categorized according to their subject major that included science, mathematics and computer science, and were secondarily categorized according to their university-learning system. Also, data were analyzed using frequency, percentage, mean and content analysis. As results, the samples in all subject majors and all university-learning systems perceived that the curriculum held the highest suitability in management about thesis supervisors, and held the lowest suitability in extra-curricular activities. Besides, they recommended the curriculum to improve content of selective course, number of compulsory course, organization of learning plan, structure of thesis course, and number of lecturer.

Article Details

How to Cite
กิจเกื้อกูล ส., & บงกชเพชร ธ. (2014). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Education and Innovation, 16(1), 140–148. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/16925
Section
Research Articles