การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การรอดชีพในการศึกษาการพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ AN APPLICATION OF THE SURVIVAL ANALYSIS TO THE STUDY OF UNDERGRADUATE STUDENTS DROP – OUTS IN CHIANG MAI UNIVERSITY

Main Article Content

พีรฉัตร อินทชัยศรี
มานัดถุ์ คำกอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การรอดชีพในการศึกษาฟังก์ชันการอยู่รอด มัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอด อัตราความเสี่ยงอันตรายต่อการพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาสูงสุด และเพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราเสี่ยงของการพ้นสถานภาพการศึกษาของนักศึกษาที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ สาขาวิชา อาชีพบิดามารดา รายได้ครอบครัว ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยก่อนพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา ปีการศึกษา ภูมิลำเนา สังกัดของสถานศึกษาเดิม ประเภทของการคัดเลือกเข้าศึกษา คะแนนของการคัดเลือกเข้าศึกษา และเชื้อชาติ ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกคน จำนวน 6 รุ่น ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2554 – 2559 จำนวนทั้งหมด 44,579 คน ข้อมูลสำหรับการวิจัยได้จากสำนักทะเบียนและประมวลผลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ช่วงเวลาที่นักศึกษาส่วนใหญ่พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาจะเป็นช่วงหลังจบภาคการเรียนที่ 3 ปีการศึกษาที่ 1 ทั้งนี้ อาจมาจากหลากหลายสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาตัดสินใจหยุดเรียน หรือพ้นสถานภาพตามเงื่อนไขที่หลักสูตรกำหนดไว้ และจากการศึกษา พบว่า อัตราเสี่ยงของการพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาของนักศึกษาทั้ง 6 รุ่นปีการศึกษา มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 0.01 – 0.12 โดยพบว่านักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2554 มีอัตราเสี่ยงในการพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาสูงสุด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราเสี่ยงของการพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 คือ สาขาวิชา ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนของการคัดเลือกเข้าศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยก่อนพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา และภูมิลำเนา

Article Details

How to Cite
อินทชัยศรี พ. ., & คำกอง ม. . (2019). การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การรอดชีพในการศึกษาการพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: AN APPLICATION OF THE SURVIVAL ANALYSIS TO THE STUDY OF UNDERGRADUATE STUDENTS DROP – OUTS IN CHIANG MAI UNIVERSITY. Journal of Education and Innovation, 23(3), 217–228. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/176731
บท
บทความวิจัย

References

Aditya Birla Group. (2007). Education is the key to sustainable development. Retrieved December 25, 2018, from www.adityabirla.com/thai/Media/features/education_top_priority_thai [in Thai]

Chiang Mai University. (2010). Chiang Mai University regulations on graduate study. Retrieved December 26, 2018, from www1.science.cmu.ac.th/Reg-sci/service_edu/ser_edu53.pdf [in Thai]

Chiang Mai University. (2018). Application of bachelor’s degree in Chiang Mai University. Retrieved December 26, 2018, from www.cmu.ac.th/aboutcmu.php?id=10 [in Thai]

Chiewchan, S., Mongkolthep, W., & Saipara, P. (2014). Appropriate teaching Thai methods according to the opinions of undergraduate students and lecturers at Rajamangala University of Technology Lanna. Journal of Education Naresuan University, 16(3), 160-171. [in Thai]

Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Gyeltshen, L., & Sawangmek, T. (2016). The factors of parent and family involvement affecting student academic performance in Urban Primary Schools of Bhutan. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 254-263.

Nimitniwat, S. (2014). Causal attributions of students’ learning success and failure in Bangkok Urban and Suburban Private Universities. Journal of Education Naresuan University, 16(4), 34-45. [in Thai]

Office of the Higher Education Commission. (2006). Thailand University potential assessment online database project. Retrieved December 27, 2018, from www.agri.cmu.ac.th/news/detail.asp?id=49010024 [in Thai]

Peterson, C., & Seligman, M. E. (1984). Causal explanations as a risk factor for depression: Theory and evidence. Psychological Review, 91(3), 347 – 374.

Phornprasert, W., & Parnichparinchai, T. (2016). Discriminant analysis of graduate students’ data at Naresuan University. Journal of Education Naresuan University, 18(3), 158-173. [in Thai]

Sangma, W., Tongkhow, P., & Sirima, P. (2008). The study of dropping out of technical diploma level students at Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, North Bangkok Campus. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [in Thai]

Sawangdee, Y., Polprasert, W., & Wattanasupt, N. (2004). Survival analysis. Journal of Research Methodology, 17(1), 107-123. [in Thai]

Soeykrathoke, P., & Suwanaklang, W. (2017). Factors affecting the dropout of the students in Thatphanom College, Nakhon Phanom University. The 17th National GNRU Conference 2017 (pp. 1062-1069). Phitsanulok: Pibulsongkram Rajabhat University. [in Thai]

Tavarom, K. (2000). An application of the Survival Analysis to the study of dropping out of undergraduate students in the faculty of engineering Chulalongkorn University (Master thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Weiner, B. (1986). An attributional theory of motivation and emotion. New-York: Spring – Verlag.

Yinyom, J. (2009). A study of the student’s drop out in Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (Master thesis). Phranakhon Si Ayutthaya: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. [in Thai]