การพัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงประเมิน และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครู DEVELOPING EFFICIENT WEBQUEST–BASED INSTRUCTION THROUGH ONLINE SOCIAL NETWORK FOR ENHANCING ANALYTICAL THINKING SKILL, EVALUATIVE THINKING, AND SELF-DIRECTED LEARNING BEHAVIOR OF TEACHER EDUCATION STUDENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงประเมิน และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงประเมิน และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กับกลุ่มที่เรียนจากการเรียนการสอนแบบปกติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา จำนวน 2 ห้องเรียนๆ ละ 30 คน รวม 60 คน โดยการสุ่มกลุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการสอบวัดก่อนและหลังเรียน และเรียนเนื้อหาเดียวกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามการคิดเชิงประเมิน พฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง และความพึงพอใจต่อบทเรียนแสวงรู้บนเว็บ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test ผลการศึกษาปรากฏว่า 1) บทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 1.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ 2) คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงประเมิน และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงประเมิน และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่าของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) นักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีความพึงพอใจต่อบทเรียนโดยรวมในระดับมาก
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Longman.
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives, handbook I: The cognitive domain. New York: David McKay.
David, L. (2014). ARCS model of motivational design theories (Keller). [Web page]. https://www.learning-theories.com/kellers-arcs-model-of-motivational-design.html
Dodge, B. (1997). Some thoughts about WebQuests. Retrieved September 1, 2018, from https://manchester.rl.talis.com/items/D6B20038–38B3–454B–984D–6E622921F2EF.html
Insa-ard, S. (2016). A design of e-learning lesson to enhance advance thinking skill. Bangkok: SE-Education. [in Thai]
Khoochonthara, P. (2016). Role of e–Learning with Self–directed Learning. TUH Journal online, 1(1), 53–61. [in Thai]
Mahuema, K. (2016). WebQuest. Retrieved August 19, 2017, from https://beewebquest.blogspot.com/
Mitsikopoulou, B. (2018). English and digital literacies unit 6.1: Introduction to Webqusts. Greece: National and Kapodistrian, University of Athens.
Office of the Education Council (ONEC). (2010). Educational Reform Proposals in the Second Decade (B.E. 2552-2561). Bangkok: Office of Education Policy and Planning. [in Thai]
Pengtong, S., Wararatpanya, K., & Krootjohn, S. (2012). Development of an instruction model on PInS-WebQuest for enhancing thinking skill and self-directed learning. Journal of library and information science Srinakharinwirot University, 5(1), 82–93. [in Thai]
Polly, D., & Ausband, L. (1993). Developing higher order thinking skills through WebQuests. Journal of Computing in Teacher Education, 26(1), 29–34.
Prangsorn, S., & Patkachar, U. (2013). Learning with a WebQuest on higher order thinking skills. Executive Journal, 33(3), 82–93. [in Thai]
Prangsorn, S., Piriyasurawong, P., & Nilssok, P. (2014). Instructional model with WebQuest using problem-based toward problem solving ability and critical thinking. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 5(2), 24–33. [in Thai]
Sikkhabandit, S. (1985). Educational technology. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok. [in Thai]
Singkhajorn, S. (2014). Development of Learning and Teaching by Social Network. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 4(2), 18-34. [in Thai]
Thammmetar, T. (2014). E-Learning: From theory to practice. Bangkok: Thailand Cyber University Project, Office of the Higher Education Commission. [in Thai]
Tuntavanitch, P. (2015). Taxonomy of educational objectives, cognitive domain based on the concept of Benjamin S. Bloom: Revision edition. Lampang Rajabhat University Journal, 3(2), 13–25. [in Thai]
University of Waterloo, Centre for Teaching Excellence. (2016). Self–directed learning: A four–step process. Retrieved July 20, 2018, from http://waterloo.ca/centrefor–teaching–excellence/teaching–tips/tip–students/self–directed–learning
Wangsrikoon, A. (2014). Thai education in the 21st century: Productivity and development guidelines. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 8(1), 1–17. [in Thai]