การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Concrete-Pictorial-Abstract (C-P-A) เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 THE DEVELOPMENT OF MATHEMATICAL CONCEPT WITH LEARNING ACTIVITIES BASED ON CONCRETE-PICTORIAL-ABSTRACT (C-P-A) APPROACH ON TWO-DIMENSIONAL AND THREE-DIMENSIONAL GEOMETRY FOR 7TH GRADE STUDENTS

Main Article Content

เพชรชนก จันทร์หอม
รัชฎา วิริยะพงศ์
วนินทร สุภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Concrete-Pictorial-Abstract (C-P-A) ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (mixed methodology) ที่มีทั้งวิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณ โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวโดยมีการทดสอบหลังเรียน ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้จาก ใบกิจกรรมในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบสัมภาษณ์ประกอบภาพตัวอย่าง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) เพื่อจัดกลุ่มตามระดับความเข้าใจ และสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ได้จากแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ด้วยข้อสอบแบบเลือกตอบ นำคะแนนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบกับสถิติทีแบบกลุ่มเดียว (t-test one sample) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนสอบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจอยู่ในระดับที่ถูกต้องสมบูรณ์ (CU) มากที่สุด ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Concrete-Pictorial-Abstract (C-P-A) สามารถพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ และผลการทดสอบหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 22.08 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.54 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 73.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
จันทร์หอม เ. ., วิริยะพงศ์ ร. ., & สุภาพ ว. . (2019). การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Concrete-Pictorial-Abstract (C-P-A) เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1: THE DEVELOPMENT OF MATHEMATICAL CONCEPT WITH LEARNING ACTIVITIES BASED ON CONCRETE-PICTORIAL-ABSTRACT (C-P-A) APPROACH ON TWO-DIMENSIONAL AND THREE-DIMENSIONAL GEOMETRY FOR 7TH GRADE STUDENTS. Journal of Education and Innovation, 22(4), 149–159. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/186960
บท
บทความวิจัย

References

Dechagupra, P., et al. (2001). Documentation for conducting classroom research. Bangkok: Academic Quality Development Institute. [in Thai]

Hui, C., Hoe, L., & Lee, K. (2017). Teaching and learning with concrete-pictorial-abstract sequence: A proposed model. The Mathematics Educator, 17(1), 1-28.

Leelajaruskul, C. (1999). Math camp activity set for developing math camps. Bangkok: The Master Group Management. [in Thai]

Mekarkat, P. (2011). Using hands-on activities for developing probabilistic reasoning of Mathayom Suksa 3 students at Pattanaprachauppathum School, Phrae province (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Ministry of Education. (2008). Basic Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. [in Thai]

National Educational Testing Institute. (2016). NIETS News. Retrieved from http://www.niets.or.th/th/catalog/view/470/12 [in Thai]

National Educational Testing Institute. (2017a). The Basic National Educational Test report (O-NET): Mattayomsuksa 3, academic year 2016. Bangkok: National Educational Testing Institute. [in Thai]

National Educational Testing Institute. (2018b). The Basic National Educational Test Report (O-NET): Mattayomsuksa 3, academic year 2560. Bangkok: National Educational Testing Institute. [in Thai]

National Educational Testing Institute. (2018c). The Basic National Educational Test Report (O-NET): Mathayomsuksa 3, academic year 2017, Issue 5 - Statistics based on content for schools. [in Thai]

Techasiriyuenyong, P. (2009). The results of Mathayomsuksa IV students by teaching using inquiry method through mathematics games on reasoning (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Udomsin, P. (2001). Measurement and evaluation of mathematics teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House. [in Thai]

Wanthamat, C., & Supap, W. (2014). The development of hands-on learning activities integrated with the rectangular model to enhance mathematical concepts in addition, subtraction, multiplication and division of fractions for Prathomsuksa 5 students (Master thesis). Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]