การศึกษาผลของการประเมินเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะของครูประจำการ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

Main Article Content

มณีรัตนา โนนหัวรอ
องอาจ นัยพัฒน์
ประวิต เอราวรรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะของครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานที่เสริมพลังอำนาจด้วยตนเองของครูประจาการ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการประเมินเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะของครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านเขาด้วนและโรงเรียนบ้านโปร่งสะเดา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการดำเนินกิจกรรมการประเมินเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน แบบประเมินสมรรถนะการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ของนักเรียน แบบประเมินการทำงานที่เสริมพลังอำนาจด้วยตนเองของครู และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อการประเมินเสริมพลังอำนาจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ t – testผลการวิจัย1. ครูมีสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังประเมินเสริมพลังอำนาจมากกว่าก่อนการประเมินเสริมพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012. ครูมีความสามารถในการทำงานที่เสริมพลังอำนาจด้วยตนเองหลังการประเมินเสริมพลังอำนาจมากกว่าก่อนการประเมินเสริมพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .013. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการประเมินเสริมพลังอำนาจในระดับมาก

คำสำคัญ: การประเมินเสริมพลังอำนาจ/ สมรรถนะ/ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้/ สมรรถนะของครูประจำการ/ การทำงานที่เสริมพลังอำนาจด้วยตนเอง/ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน/ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

 

Abstract

This research paper was aimed to: 1) compare teacher competency on student learningassessment and 2) compare the self–empowerment of working of preservice teachers in PrachinburiPrimary Educational Service Area Office II and 3) study opinion of teacher towards empowermentevaluation. Using quasi experimental one group pretest–posttest designs as Methodology of thisresearch. The sample groups were teachers in Banprongsadao school and Bankaodeaun school ofPrachinburi Primary Educational Service Area Office II. The research instruments were empowermentevaluation activities, questionnaires of educational assessment competency, self–empowerment ofworking, and opinion of teacher towards empowerment evaluation. The statistics method used in thisresearch were frequency, percentage, mean, standard deviation and t–test Independent Samples.Research results as follows:1. The posttest average scores of teacher assessment competency was significantly higherthan the pretest average scores at the level of .012. The posttest average scores of teachers’ self–empowerment of working was significantlyhigher than the pretest average scores at the level of .013. The administrator, teachers, supervisor and school supporting staff members weresatisfied with empowerment evaluation at the high level.

Keywords: Empowerment evaluation/ Competency/ Assessment/ Preservice teachers’competency/ Self–empowerment of working/ Classroom assessment/ Students’ learning assessment

Article Details

How to Cite
โนนหัวรอ ม., นัยพัฒน์ อ., & เอราวรรณ์ ป. (2014). การศึกษาผลของการประเมินเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะของครูประจำการ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน. Journal of Education and Innovation, 16(3), 44–52. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/19116
Section
Research Articles