การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

สมเกียรติ อินทวงศ์
สุกัญญา แช่มช้อย
สำราญ มีแจ้ง
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกรอบแนวคิด และ สร้างเครื่องมือการวิจัย เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา มีวิธีปฏิบัติที่น่าสนใจ จำนวน 5 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ยกร่างรูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของ โดย อาศัยข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะโดย นำเสนอรูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และสภาพแวดล้อม

2. รูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย คือ 2.1) องค์คณะบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการ 2.2) ศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นองค์กรในสถานศึกษา มี 8 ภารกิจ 2) กระบวนการ ประกอบด้วยการวางแผน การจัดองค์กร การลงมือปฏิบัติ การควบคุม และการปรับปรุง 3) ผลผลิต ประกอบด้วย การได้รับโอกาสในองค์ความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ จำนวนผู้ประกอบการที่มีสถานที่ประกอบการจริง เมื่อจบการศึกษาภายใน 1 ปี การมีทัศนคติที่ดีในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาผู้รับการบ่มเพาะ และ 4) สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการ

3. การประเมินรูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากและมีประโยชน์อยู่ในระดับมากเช่นกัน

คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร/ ศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการ

 

Abstract

Research and development study, comprised collecting both quantitative and qualitative data. The main objective of this research was to develop an administrative model for business incubator center under vocational education commission with the following sub-objectives: 1) to study the actual state and problems and ways of the administrations of business incubator center 2) to construct a tentative administrative model for the business incubator center 3) to evaluate the administrative model for the business incubator center.

The research procedure followed three steps: 1) analyzing and synthesizing relevant documents and research findings, concepts and the theories in administration, then conducting multi-case studies of 5 business incubator centers with interesting practices in  management, then interviewing 6 business incubator center experts. 2) Drafting a tentative model, and then validating the drafted model for its appropriateness through focus group discussion among 10 business incubator center experts. 3) Evaluating the usefulness and feasibility by 40 educators, office of the Vocational Education commission in the field; data were analyzed, using means and standard deviations.

The results of the research were as follows:

1. The development of administrative model for business incubator center under vocational education commission consists of four main components; inputs, process outputs and environments.

2. The administrative model constructed for the business incubator center consists of four main components as a mechanism to achievements; 1) inputs consist of two elements with 1.1) the executive committees, participating in the incubator management. 1.2) business incubator center to promote the entrepreneurship of the students in the education institutes, consisting of eight tasks. 2) process with five administrative principles: planning, organizing, doing, controlling and acting 3) outputs with the opportunity to again the knowledge and skills needed to be an entrepreneur, the number of the new entrepreneurs after the first year after graduation 4) environments factors, favorable to the successful management of the business incubator center.

3. The evaluation of the constructed model yielded the results at a high level of usefulness and feasibility.

Keywords: Administrative Model/ Business incubator center

Article Details

How to Cite
อินทวงศ์ ส., แช่มช้อย ส., มีแจ้ง ส., & ชาตรูประชีวิน ฉ. (2014). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Journal of Education and Innovation, 16(3), 65–75. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/19118
Section
Research Articles