การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุพรรณบุรี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ 2) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน วิทยากรและวิธีการนำเสนอ วัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการหลักสูตร 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบ ในการวัดความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน 2) แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติทดสอบที (t – test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ในการอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรม
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการจัดอบรมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจต่อวิทยากรและการบรรยายอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการโครงการอยู่ในระดับมาก
3. ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ระยะเวลาในการจัดอบรมมีน้อย ครูบางคนไม่เข้าใจขั้นตอนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) อย่างแท้จริง ทำให้ไม่สามารถนำแนวคิดและวิธีการไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ ครูมีภาระงานมาก ทำให้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ยังไม่ได้ผลเท่าที่กำหนดไว้ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เหมาะสมสำหรับสอนนักเรียนจำนวนน้อยต่อกลุ่ม แต่ในสภาพความเป็นจริงมีนักเรียนมากเกินไป รวมทั้งโรงเรียนขาดงบประมาณในการปรับปรุงสถานที่ และซื้ออุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนได้ครบทุกชั้นและทุกสาระวิชา
Abstract
The purposes of evaluation project for developing teachers quality by using the process of coaching & mentoring system of Suphanburi primary educational service area office I were, 1) to evaluate the overall results of raising teachers’ quality project in learning achievement part, 2) to evaluate the overall processes of raising teachers’ quality project in learning activities, lectures, the approaches for presentation, materials, assessment and curriculum management, 3) to study problems and obstacles for operating processes of raising teachers’ quality project. The collected data from 100 participants in evaluation project for developing the teachers quality by using the process of coaching & mentoring system. The research instruments were pre–test and posttest in brain based learning, 2) the three questionnaires to evaluate the process of development, problems and obstacles. The data were analyzed by frequency, percentage, mean (), standard deviation (S.D.), t–test dependent and content analysis
The research of results found that:
1. The achievement from training of the participants in the process of coaching & mentoring system before and after training had different statistically significant at .05 level and after training had higher than one.
2. The participants were highly satisfied toward training in high level, when considered in each facet found that the participants of training were highly satisfied toward curriculum, the trainers and presentation were highest level, and had satisfied toward curriculum management at high level.
3. The problems, obstacles and suggestions of development project teachers quality system, the administrators, the supervisors and the participants were time for training was too short, some teachers did not truly understand the process of BBL teaching. Teachers' workload was problem for BBL teaching. The teaching and learning using BBL suitable for teaching few students per group but in fact, there are too many students. Schools lack of budgets for renovation and purchased the appropriate equipment to handle the course. Media training did not complete all the subjects. Some teachers could to apply the concepts and methods used in teaching it.Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.