กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิค ในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สงวน หอกคำ
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง และ 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และใช้แบบประเมิน กลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน พบว่า มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน และมีการใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ส่วนปัญหา พบว่า บุคลากรไม่ใส่ใจในการดำเนินงานตามภาระงานปกติด้วยวงจรคุณภาพ PDCA และบุคลากรในสถานศึกษาไม่สามารถเชื่อมโยงงานในหน้าที่เข้ากับตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการประกันคุณภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพภายใน ด้านจุดแข็ง ผู้บริหารมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านจุดอ่อน สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศจัดเก็บเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ไม่เชื่อมโยงกัน ด้านโอกาส สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานด้านอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านภาวะคุกคาม สังคมบางส่วนฝังใจในภาพพจน์ที่ไม่ดีของนักเรียนอาชีวะที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ

2. กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 เป้าประสงค์ 7 กลยุทธ์ 32 มาตรการ และ 60 ตัวชี้วัด

3. ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมากที่สุด

คำสำคัญ : กลยุทธ์/ การประกันคุณภาพภายใน/ วิทยาลัยเทคนิค

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study states, problems and factors related to internal quality assurance of Technical Colleges in the lower northern region, 2) to develop the strategies for internal quality assurance of Technical Colleges in the lower northern region, and 3) to assess the strategies. Data were collected through the use of document analysis, questionnaire,  structured interview, workshop, connoisseurship and assessment form. The data were analyzed through the applications of frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The findings were as follows:

1. The states of internal quality assurance revealed that a committee was appointed to manage the internal quality assurance and the standards for internal quality assurance were used as guidelines for educational development. For the problems, it was found that the personnel did not use PDCA for their routine works and they could not make an association between their works with the indicators of quality assurance standards. The factors related to internal quality assurance revealed that for the strengths, the administrators set the educational development plans and the annual action plans. For the weakness, the information systems consisted of irrelevant documents. For the opportunity, the vocational man power was needed by the enterprises. For the threat, some people in the society still had negative perception towards vocational students.

2. The strategies consisted of 1 vision, 3 mission, 3 strategic issues, 3 goals, 7 strategies, 32 measures and 60 indicators.

3. The result assessment of the strategies was found that a vision, missions, strategic issues, goals, strategies, measures and indicators consistency, propriety, feasibility and utility at a high and the highest levels.

Keywords: Strategy/ Internal Quality Assurance/ Technical College

Article Details

How to Cite
หอกคำ ส., เชาวกีรติพงศ์ ท., & ผลประเสริฐ ป. (2014). กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิค ในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education and Innovation, 16(3), 95–106. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/19121
Section
Research Articles