รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะ วิธีการพัฒนาสมรรถนะ และกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย โดยการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง การศึกษาความต้องการสมรรถนะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนจำนวน 53 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษาไปใช้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารวิทยาลัยชุมชน จำนวน 51 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สมรรถนะ 2) วิธีการพัฒนาสมรรถนะ และ 3) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทยมีความเหมาะสม และผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนมีความเห็นว่าการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหน่วยจัดการศึกษา สังกัดวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทยไปใช้มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: สมรรถนะ/ วิทยาลัยชุมชน
Abstract
The objective of the study was to develop the competency for head unit of the educational service under community college in Thailand. The study was conducted by three steps. The first step was surveyed to the need competency for head unit of educational service under community college from document analysis by 53 community colleges administors. The second step was written to draft a model of competency for head unit of educational service under community college, the draft model was also verified by 18 experts. The third step was evaluated to the suitability and the feasibility of the competency model for head unit of educational service under community college by 51 community colleges administors. The statistical analysis of data employed arithmetic mean and standard deviation.
The results of the study revealed that there were 3 components of the model were concluded as: 1) the needed competencies for head unit of educational service under community college in Thailand, 2) the procedures of establishing the competencies and 3) the process of developing the competencies. The suitability of the competency model and the feasibility of applying the model for head unit of educational service as viewed by 60 community college administrators were at high levels.
Keywords: Competency/ Community college
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.