กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 41
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ ปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 สรุปผลได้ดังนี้
1.1 สภาพการบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ด้านการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและด้านการจัดการทรัพยากร สื่อและเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม สถานศึกษามีการกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการนิเทศและการพัฒนาครู มีการกำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนช่วยพัฒนาการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของครู มีการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและช่วยสะท้อนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
1.2 ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมปัญหาการบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่ด้านการนิเทศและการพัฒนาครูและด้านด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นด้านที่มีปัญหามากกว่าด้านอื่น ๆ คือ ผู้บริหารใช้เครื่องมือในการนิเทศการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่หลากหลาย ครูขาดการวางแผนในการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยสะท้อนและพัฒนาคุณภาพให้กับผู้เรียน และครูไม่มีการประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย
1.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีปัจจัยภายใน 5 ด้าน 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านครูผู้สอน 3) ด้านผู้เรียน 4) ด้านงบประมาณ 5) ด้านวัสดุอุปกรณ์ ส่วนปัจจัยภายนอก 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านสิ่งแวดล้อม 3) ด้านสังคมและการพัฒนา 4) ด้านเทคโนโลยี 5) ด้านนโยบายของรัฐบาลและหน่วยเหนือ
2. กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 5 พันธกิจ 5 เป้าประสงค์ 5 ประเด็นกลยุทธ์ 8 กลยุทธ์ 33 มาตรการ และ 40 ตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัดมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการยอมรับได้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด
คำสำคัญ: กลยุทธ์/ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Abstract
The purposes of this research were 1) to study states, problems and factors related to student-centered learning management of schools under Secondary Educational Service Area Office 41, 2) to develop the strategies for student-centered learning management and 3) to assess the strategies. Data were collected by means of questionnaire, focus group discussion, structured interview form, workshop, and connoisseurship. The data were analyzed through the applications of percentage, mean, standard deviation, and content analysis.
The findings were summarized as follows:
1. States, problems, and factors related to student-centered learning management of schools under Secondary Educational Service Area Office 41 were as follows:
1.1 The states of student-centered learning management in terms of instruction support, the management of resources, materials, technology or innovation revealed that the schools had set up the policy of participation in student-centered learning management. For the supervisory practice and teachers development, a group of the teaching stuff was assigned to manage internal supervision and develop student-centered learning. For teaching assessment, the assessments of teaching were conducted to improve student-centered learning. For the assessment of learning, there were effective assessments that reflected the quality of students. Moreover, the assessment help to improving the teaching.
1.2 The problems of student-centered learning management revealed that an overall and each of the problems were at a moderate level. The supervision and teachers development aspect and the assessment for learning aspect had more problems. These problems were administrators because of no various supervisory tools, no effective learning assessment plans to reflect and develop the quality of students, and no various formative evaluations by the teachers.
1.3 The factors related to student-centered learning management of schools under Secondary Educational Service Area Office 41 consisted of 5 internal factors including 1) administration, 2) teachers, 3) students, 4) budget, and 5) equipment and materials and 5 external factors including 1) economy, 2) environment, 3) society and development, 4) technology and 5) government and super unit policy.
2. The strategies consisted of 1 vision, 1 mission, 5 goals, 5 strategic issues, 8 strategies, 33 indicators, and 40 measures.
3. The evaluation of the strategies was found that vision, missions, goals, strategic issues, strategies, indicators and measures were relevance, suitable, feasible and acceptable at a high and the highest levels.
Keywords: Strategy/ Student-Centered Learning ManagementArticle Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.