วิธีการสอนภาษาไทยที่เหมาะสมตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Main Article Content

สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ
วิโรจน์ มงคลเทพ
เพลิฬ สายปาระ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสอนภาษาไทยที่เหมาะสมตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ผู้สอนภาษาไทยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 12 คนและ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาทั้งหมด 300 คน จาก 6 เขตพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ถึงวิธีการสอนภาษาไทยที่เหมาะสมตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่าความคิดเห็นของนักศึกษาโดยภาพรวมเห็นว่าวิธีการสอนที่เหมาะสมคือต้องการให้อาจารย์ใช้สื่อการสอนที่มีความทันสมัยและหลากหลาย ด้านวิธีการสอนทักษะการฟัง นักศึกษาต้องการให้มีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟังอย่างมีวิจารณญาณ ด้านวิธีการสอนทักษะการพูด นักศึกษาต้องการให้มีการสอนการพูดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ด้านวิธีการสอนทักษะการอ่าน นักศึกษาต้องการให้อาจารย์ใช้สื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านที่มีความทันสมัยกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และด้านวิธีการสอนทักษะการเขียน นักศึกษาต้องการให้มีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อการประกอบอาชีพ

ด้านความคิดเห็นของอาจารย์เห็นว่าวิธีการสอนในรายวิชาภาษาไทยที่เหมาะสม คือผู้สอนจะต้องคำนึงถึงคือความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้จริงของผู้เรียน มีสื่อการสอนที่หลากหลายทันสมัย รวมทั้งจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนปฏิบัติทักษะการสื่อสารทั้ง  4 ด้านไปพร้อมๆกันกับทักษะการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ

คำสำคัญ : วิธีการสอนภาษาไทย/ ความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์

 

Abstract

The objectives of this research was to investigate the appropriate teaching Thai methods according to the opinions of undergraduate students and lecturers at Rajamangala University of Technology Lanna. The samples were 12 Thai Language lecturers and 300 students, including from 6 campus of Rajamangala University of Technology Lanna. The guestionnaire and interview forms were used as the instruments. The result data were analyzed using two statistics, including means and standard deviation.

In this study, the opinions of undergraduate students showed that Thai Language lecturers should use the various modern instructional media for teaching. Students wanted to develop their critical listening skills. They wanted lecturers to teach speaking skills that can apply effectively in the every day life. For reading skills, students wants lecturers use instructional medias that were up to date to the situation.Furthermore, the opinions indicated that developing wrtiing skills were useful for their  future career.

In the views of lecturers, the consideration to student ability in Thai language, the usage of various, modern and up-to-date of instructional media, and the designation of new classroom activities could improve the students in communication language skills (i.e. listening, speaking, reading and writing skills) and critical and analytical thinking skills.

Finally, it is believed that the communication and thinking skills are applied to use in the outside classroom in daily life of the students and are useful for their future career.

Keyword:  Teaching Thai methods/ Opinions of undergraduate students and lecturers

Article Details

How to Cite
เชี่ยวชาญ ส., มงคลเทพ ว., & สายปาระ เ. (2014). วิธีการสอนภาษาไทยที่เหมาะสมตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. Journal of Education and Innovation, 16(3), 160–171. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/19129
Section
Research Articles