หมอดูและหมอนวด: ท่อระบายความเครียดและความใคร่ของสังคมไทย

Main Article Content

รัตนะ บัวสนธ์
เอื้อมพร หลินเจริญ
ชำนาญ ปาณาวงษ์
ปริญญา จิตรโคตร
เบญจวรรณ อินต๊ะวงศ์
ปาณจิตร สุกุมาลย์
รักษ์ศิริ จิตรอารี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเองและทัศนคติต่อการประกอบอาชีพ  มูลเหตุจูงใจในการใช้บริการหมอดูและหมอนวด ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ และเพื่อสังเคราะห์ปัจจัยร่วมและปัจจัยต่างของอาชีพหมอดูและหมอนวด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบแผนการศึกษาพหุกรณี โดยศึกษากรณีศึกษา 3 กรณี ได้แก่ หมอดู หมอนวดแผนไทยและหมอนวดอาบ อบ นวด โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและตรวจสอบข้อมูลโดยการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการสร้างข้อสรุปอุปนัย การวิเคราะห์ตีความ และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ ผลการวิจัยพบว่า หมอดู หมอนวดแผนไทยและหมอนวดอาบอบนวด มีมูลเหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเหมือนกัน คือ ความต้องการมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ส่วนในด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและทัศนคติต่อการประกอบอาชีพ พบว่า ผู้ประกอบอาชีพหมอดู หมอนวดแผนไทย และหมอนวดอาบ อบ นวด มีความรู้สึกพึงพอใจและเห็นคุณค่าทั้งต่อตนเองและต่ออาชีพของตนในทิศทางบวกด้วยกันทั้งสิ้น ด้านมูลเหตุจูงใจในการใช้บริการหมอดูและหมอนวด พบว่า ผู้ใช้บริการหมอดู หมอนวดแผนไทย และหมอนวดอาบ อบ นวด มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ ใช้บริการเพื่อต้องการการผ่อนคลายซึ่งอาจจะมีแตกต่างกันบ้าง คือ ผู้ใช้บริการหมอดูและหมอนวดอาบ อบ นวดนั้นเน้นที่ต้องการการผ่อนคลายทางด้านจิตใจ ส่วนผู้ใช้บริการหมอนวดแผนไทยนั้นเป็นความต้องการผ่อนคลายทางด้านร่างกาย และการรักษาอาการเจ็บปวด ส่วนด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการนั้น พบว่า หมอดูกับผู้ใช้บริการนั้นจะมีความผูกพันกันมากที่สุด ส่วนหมอนวด อาบ อบ นวดกับผู้ใช้บริการจะมีความผูกพันกันน้อยที่สุด กล่าวคือ ผู้ใช้บริการหมอดูจะมีความรู้สึกเชื่อมั่นนับถือหมอดู และหมอดูเองจะมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือและให้สารสนเทศที่เป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตแก่ผู้ใช้บริการ ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างหมอนวดแผนไทยกับผู้ใช้บริการนั้นจะมี 2 ลักษณะ ซึ่งแบบแรกเป็นแบบห่างเหิน จะพบกรณีผู้ใช้บริการใหม่หรือผู้ใช้บริการที่มานวดแบบนาน ๆ ครั้ง ลักษณะการพูดคุยทักทายตามมารยาท ส่วนแบบที่ 2 เป็นแบบสนิทสนม ซึ่งจะพบกรณีผู้ใช้บริการประจำซึ่งลักษณะการพูดคุยจะเป็นการคุยกันอย่างสนิทสนม ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างหมอนวด อาบ อบ นวดกับผู้มาใช้บริการนั้นมีลักษณะเป็นแบบชั่วคราว จะมีปฏิสัมพันธ์กันเพียงช่วงเวลาที่ให้และใช้บริการซึ่งถือเป็นการให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน

คำสำคัญ : หมอดู/ หมอนวดแผนไทย/ หมอนวดอาบ อบ นวด

 

Abstract

This research aimed to investigate motivation, self-esteem and attitude to the occupation, motivation for using service, social interaction between servant and customers. And to synthesize the factors classified to the same and different. The methodology of this research is qualitative research in multiple case studies research design, consists of three cases: an astrologer, a traditional masseuse and a parlour - masseuse. The methods of research were participant observation and nonstructure interview. Information’s verification by triangulation. Data were analyzed by the analytic induction, interpretation and componential analysis.

The findings revealed that the same motivation to the occupation is for earnings. In terms of self-esteem and attitude to the occupation found that all tree cases had a feeling of satisfaction and attitudes both to themselves and their occupations in a positive direction. In motivations for using service found that the customers were used for relaxation, which may be different that astrologer‘s customers and traditional masseuse’s customers focuses on relaxing in the mind but a traditional masseuse’s customers focuses on relaxing in the body and treatment of pain. In social interaction between servant and customers found that the most familiarity is social interaction between an astrologer and his customers and the least is social interaction between a parlour - masseuse and her‘s customers.

Keywords: an astrologer/ a traditional masseuse/ a parlour – masseuse

Article Details

How to Cite
บัวสนธ์ ร., หลินเจริญ เ., ปาณาวงษ์ ช., จิตรโคตร ป., อินต๊ะวงศ์ เ., สุกุมาลย์ ป., & จิตรอารี ร. (2014). หมอดูและหมอนวด: ท่อระบายความเครียดและความใคร่ของสังคมไทย. Journal of Education and Innovation, 16(3), 172–180. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/19130
Section
Research Articles