การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย กับวิธีสอน แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E

Main Article Content

สุภาพร แหลมแก้ว
เนติ เฉลยวาเรศ
ศรินทิพย์ ภู่สำลี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนายสังเกต อธิบายกับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 4) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบายกับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 5) ศึกษาเจตคติในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบายกับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 2 ห้องเรียน แล้วจับฉลากอีกครั้งหนึ่งโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 31 คนเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 โดยใช้เทคนิคสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 จำนวน 34 คน เป็นกลุ่มทดลองที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย 2) แผนการจัดการเรียนรู้     แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ค่าความเชื่อมั่น 0.844 4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.793 5) แบบสอบถามเจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.934 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนที่สอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนที่สอนโดยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่สอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบายกับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ไม่แตกต่างกัน

4. นักเรียนที่สอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบายกับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนที่สอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย และการสอนโดยวิธีสอนสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E มีเจตคติในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : เทคนิคการสอนแบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย/ วิธีสอนสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E/ ทักษะกระบวนทางการเรียนวิทยาศาสตร์

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to compare Learning achievement of Mathayomsuksa 3 students on electricity before and after teaching by using prediction observation explaination technique,  2) to compare Learning achievement of Mathayomsuksa 3 students on electricity before and after teaching using 5E Inquiry cycle, 3) to compare Learning achievement  of Mathayomsuksa 3 students on electricity teaching using prediction observation explaination technique and 5E Inquiry cycle, 4) to compare science process skill  Mathayomsuksa 3 students on electricity teaching using prediction observation explaination technique and 5E Inquiry cycle and 5) to study attitude Mathayomsuksa 3 students on electricity teaching using prediction observation explaination technique and 5E Inquiry cycle. The sample were 2 classrooms of Mathayomsuksa 3 students in the first semester of 2013 academic of Banhanchamsaiwitaya 1 Donchedee Suphanburi. Secondary Education Area Office Suphanburi Field 9. They were selected by simple random sampling and divided into the first experimental group was Mathayomsuksa 3/6 number of students 31 taught by prediction observation explaination technique. And the second experimental group was Mathayomsuksa 3/8 number of students 34 taught by 5E Inquiry cycle. The instrument used for collecting data were 1) lesson plans of prediction observation explaination technique, 2) lesson plans of 5E Inquiry cycle , 3) achievement learning about electricity test the value of confidence was 0.844, 4) the evaluation of the scientific process skills test the value of confidence was 0.793 and 5) Science learning attitudes questionnaires the value of confidence was 0.934.The data  were  analyzed by mean, standard deviation and t-test independent.

The results of the study were:

1. The students’ science title electric achievement average teaching using prediction observation explaination technique, the posttest result was significantly higher than the pretest result at the .05 level.

2. The students’ science title electric achievement average teaching using 5E Inquiry cycle, the posttest result was significantly higher than the pretest result at the .05 level.

3. The students’ science title electric achievement average teaching using prediction observation explaination technique and 5E Inquiry cycle. There were not different.

4. The students’ science title electric achievement average teaching using prediction observation explaination technique and 5E Inquiry cycle were significantly result at the .05 level. The science process skills that using prediction observation explaination technique were higher than using 5E Inquiry cycle.

5. The students’ science attitude on “Electricity“ who taught by using prediction  observation  explaination technique and 5E Inquiry cycle was good level.

Keywords : prediction observation explaination technique/ 5E Inquiry cycle/ science process skills

Article Details

How to Cite
แหลมแก้ว ส., เฉลยวาเรศ เ., & ภู่สำลี ศ. (2014). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย กับวิธีสอน แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E. Journal of Education and Innovation, 16(3), 190–199. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/19132
Section
Research Articles