หลักสูตรท้องถิ่น: วาทกรรมว่าด้วย “หลักสูตร” และแนวโน้มการวิจัยด้านหลักสูตร จากมุมมองเชิงวิพากษ์และหลังสมัยใหม่นิยม

Main Article Content

ออมสิน จตุพร
อมรรัตน์ วัฒนาธร

Abstract

บทคัดย่อ

บทความเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น: วาทกรรมว่าด้วย “หลักสูตร” และแนวโน้มการวิจัยด้านหลักสูตรจากมุมมองเชิงวิพากษ์และหลังสมัยใหม่นิยม มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอประเด็นด้านหลักสูตรดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง นำเสนอความหมายและความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่นในบริบทการจัดการศึกษาในท้องถิ่นของไทย ประการที่สอง นำเสนอนิยามใหม่ของหลักสูตรท้องถิ่นและวาทกรรมว่าด้วยหลักสูตรจากมุมมองเชิงวิพากษ์และหลังสมัยใหม่นิยม ประการที่สาม นำเสนอนิยามใหม่ของหลักสูตรซึ่งนำไปสู่การวิจัยด้านหลักสูตรแนวหลังสมัยใหม่นิยม การนำเสนอแนวคิดดังกล่าวนี้เพื่อเป็นหลักคิดสำหรับนักวิชาการด้านหลักสูตรและการสอน นักการศึกษา ครูอาจารย์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้หันกลับมาพิจารณาว่าหลักสูตรท้องถิ่นที่แท้จริงคืออะไร มีลักษณะอย่างไร เหตุใดจึงต้องมีหลักสูตรท้องถิ่น และมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของไทยอย่างไร โดยให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจหลักสูตรมากกว่าการวางแผนและพัฒนาหลักสูตร ซึ่งหลักสูตรในที่นี้ คือประสบการณ์ชีวิตหรืออัตชีวประวัติของตัวผู้เรียนเอง โดยการพิจารณาดังกล่าวได้นำแนวคิดการตีความวาทกรรมมาใช้ตีความวาทกรรมว่าด้วย “หลักสูตร” และนำไปสู่แนวโน้มการวิจัยด้านหลักสูตรแนวหลังสมัยใหม่นิยม

คำสำคัญ: หลักสูตรท้องถิ่น/ กระบวนทัศน์ทางการศึกษาเชิงวิพากษ์และหลังสมัยใหม่นิยม/ การวิจัยด้านหลักสูตร

 

Abstract

This article aimed at proposing related-issues in curriculum theory as follows: 1) the meaning and significance of local curriculum in Thai rural contexts 2) the re-defined meaning of curriculum and discourse on curriculum from critical and postmodern perspectives 3) the trend in curriculum research from critical and postmodern perspectives. The proposed perspectives aimed at provoking curriculum scholars, education specialists, teachers and related people to re-conceptualize the meaning and essence of local curriculum in Thai rural contexts. The critical and postmodern perspectives placed a greater emphasis upon curriculum understanding than planning and developing curriculum. Thus, curriculum is learners’ life narratives or personal/autobiographical stories. This was influenced by the discourse analysis concept to re-define discourse on curriculum and led to curriculum research trend from critical and postmodern perspectives.

Key words: Local Curriculum/ Critical and Postmodern perspectives/ Research on Curriculum

Article Details

How to Cite
จตุพร อ., & วัฒนาธร อ. (2014). หลักสูตรท้องถิ่น: วาทกรรมว่าด้วย “หลักสูตร” และแนวโน้มการวิจัยด้านหลักสูตร จากมุมมองเชิงวิพากษ์และหลังสมัยใหม่นิยม. Journal of Education and Innovation, 16(3), 200–213. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/19133
Section
Academic Articles