การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาน และคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

มณเฑียร ส่งเสริม
ปริญญา ทองสอน
วิมลรัตน์ จตุรานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาน และคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยสุ่มแบบกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาน แบบวัดการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีววิทยา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (dependent t-test) ผลการวิจัย พบว่า
1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาน และคิดแก้ปัญหา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 8 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นระลึกความรู้เดิม (Stimulus Recall of Prior Learning) ขั้นแจ้งจุดประสงค์ (Objectives) ขั้นสร้างความรู้ (Native Knowledge) ขั้นกระบวนการกลุ่ม (Group Processing) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Sharing) ขั้นขยายความรู้ (Expansion) ขั้นสอนให้คิดต่อ (Re-educate) ขั้นตรวจสอบและติดตาม (Monitoring) และ 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนตามรูปแบบโดยรูปแบบมีคุณภาพเหมาะสมตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.49)
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่าผู้เรียนในกลุ่มทดลองมีผลการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาน คิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อวิชาชีววิทยาอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x} = 3.87)

Article Details

How to Cite
ส่งเสริม ม. ., ทองสอน ป., & จตุรานนท์ ว. . (2019). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาน และคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education and Innovation, 22(1), 175–189. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/224479
บท
บทความวิจัย

References

Art-in, S. (2007). Learning management to develop critical thinking. Journal of Curriculum and Instruction, Konkaen University, 2(1), 12-21. [in Thai]

Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Frust, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. (1972). Taxonomy of educational objectives: Handbook 1 cognitive domain (7th ed.). New York: David Mckay Company.

Bunteng, T. (2012). Student skills assessment international PISA 2012. Retrieved October 8, 2016, from https://blog.eduzone.com/tonsungsook/120382 [in Thai]

Choangchan, A. (2010). The development of instructional model for the enhancement of problem solving with critical thinking abilities of fifth grade students (Doctor dissertation). Bangkok: Silpakorn University. [in Thai]

Chiras, D. D. (1992). Teaching critical thinking skills in the biology & environmental science classrooms. The American Biology Teacher, 54, 464-468.

Chuabangkaew, M. (2013). The Development of instructional model to promote analytical thinking integrated science process skills and scientific attitude (Doctoral dissertation). Chonburi: Burapha University. [in Thai]

Deechauy, J. (2011). The development of instructional model based on constructivism and critical thinking to enhance biology concepts and knowledge construction abilities of tenth grade students (Doctoral dissertation). Bangkok: Silpakorn University. [in Thai]

Gall, M. D., Borg, W. R., & Gall, J. P. (1996). Educational research: An introduction (6th ed.). New York: Longman Publishers.

Jammor, P., Prasarnpun, S., Kaewurai, K., & Lhincharoen, A. (2016). The development of blended learning management model in biology using resource based learning to enhance learning avidity of high school students. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 37-49. [in Thai]

Khemmani, T. (2002). Science of teaching: A body of knowledge for effective learning management (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Mcmillan, J. H., & Schumacher, S. (2006). Research in education: Evidence – based inquiry (6th ed.). Boston: Pearson Education.

Ministry of Education. (2009). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2015). Ordinary Seven subjects test in 2014. Retrieved October 22, 2015, from https://www.niets.or.th [in Thai]

Saiyod, L., & Saiyod, A. (2000). Technique of measurement and learning (2nd ed.). Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Sinthapanon, S., Wanlerdluck, W., & Sinthapanon, P. (2009). Thinking development for teaching (2nd ed.). Bangkok: Laing Chaing Company. [in Thai]

Somongdee, T. (2013). The effect of biology learning in genetic inheritance by using the 7E-learning cycle on learning achievement, analytical thinking and scientific attitudes of mathayomsuksa four students (Master thesis). Chonburi: Burapha University. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2004). The Instructional model to develop higher order thinking in biology. Retrieved July 22, 2014, from https://www.biology ipst.ac.th [in Thai]

Turiman, P., Omar, J., Daud, A. M., & Osman, K. (2012). Fostering the 21st century skills through scientific literacy and science process skills. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 59, 110-116.