การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING CONTEXT-BASED LEARNING WITH INFOGRAPHICS TO ENHANCE SCIENTIFIC LITERACY AND ATTITUDE TOWARD SCIENCE ON THE TOPIC OF CHEMICAL BONDS FOR GRADE 10 STUDENTS

Main Article Content

ปวันรัตน์ ศรีพรหม
อังคณา อ่อนธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่อง พันธะเคมี เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ และศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตร E1/E2 และใช้สถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสร้างข้อมูลเชิงภาพจากสถานการณ์ 2) ขั้นตั้งข้อสงสัยและวางแผนหาคำตอบ 3) ขั้นลงมือปฏิบัติงานและสร้างข้อสรุปเชิงภาพ 4) ขั้นแบ่งปันและเรียนรู้แนวคิดด้วยอินโฟกราฟิก และ 5) ขั้นเชื่อมโยงความรู้และสร้างสรรค์อินโฟกราฟิก โดยผลการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.92, S.D. = 0.18) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.96/75.56
2. การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนเกิดการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากบริบท การทำกิจกรรมกลุ่ม การหาคำตอบ การสร้างอินโฟกราฟิก โดยนักเรียนสามารถวิเคราะห์บริบท หาคำตอบและสามารถสร้างคำตอบได้อย่างสมเหตุสมผลจนทำให้นักเรียนเกิดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์

Article Details

How to Cite
ศรีพรหม ป. ., & อ่อนธานี อ. (2020). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4: DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING CONTEXT-BASED LEARNING WITH INFOGRAPHICS TO ENHANCE SCIENTIFIC LITERACY AND ATTITUDE TOWARD SCIENCE ON THE TOPIC OF CHEMICAL BONDS FOR GRADE 10 STUDENTS. Journal of Education and Innovation, 23(3), 159–174. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/231230
บท
บทความวิจัย

References

Apiwongngam, N. (2011). A study on science learning achievement and scientific mind through context based learning and inquiry process of matthayomsuksa 3 students (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Buosonte, R. (1998). A handbook of qualitative research in education. Phitsanulok: Faculty of Education Naresuan University. [in Thai]

Buosonte, R. (2013). Qualitative research in education (4th ed). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Charoenchokmanee, S, & Art-in, S. (2015). The development of the supplementary courses on the creation products of sweet corn in occupations and technology learning area for grade-6 students context-based learning. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 9(4), 194-202. [in Thai]

Dangbun, N. (2009). The achievement and attitude of the mathayomsuksa II students in science studying with science activities series (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Ekakun, T. (1999). A handbook of measurement of attitude. Ubon Ratchathani: Faculty of Education, Ubon Ratchathani Rajabhat University. [in Thai]

Elmas, R., & Geban, O. (2016). The effect of context based chemistry instruction on 9th grade students’ understanding of cleaning agents topic and their attitude toward environment. Eğitim ve Bilim, 41(185), 33-50. DOI: 10.15390/EB.2016.5502

Karnsomjai, P. (2016). The development of motion infographic media for enhancing the creative thinking of higher secondary school students (Master thesis). Bangkok: Ramkhamhaeng University. [in Thai]

Kruatong, T. (2010). Learning science in context. IPST Magazine, 38(116), 56-59. [in Thai]

Lekjinda, S., Suksamkaew, R., Kwangsawad, A., & Saikatikorn, N. (2017). The infographics development on social networks that affect the performance of the Search Engine Optimization for Pa La-U‘s Products. The 5th ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2) 2017 (pp. 295-301). Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]

Maseng, M. (2013). Effects of project - based learning on learning achievement, science process skills and attitude towards science of mathayomsuksa two students (Master thesis). Songkhla: Prince of Songkla University. [in Thai]

Saiyos, L., & Saiyos, A. (1995). Educational research techniques. Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Saiyos, L., & Saiyos, A. (2000). Techniques for measuring learning. Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Saiyos, L., & Saiyos, A. (2000). The measurement of affective domain. Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2011). Preliminary research (9th ed). Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2012). Examples of test items for international evaluation PISA and TIMSS: Science (2nd ed). Bangkok: Aroon printing. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2018). Summary of PISA 2015 Assessment of Reading Science and Mathematics. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). [in Thai]

The Office of Academic Promotion and Registration Valaya Alongkorn Rajabhat University. (2010). A manual for teaching and learning system that is based on learners as a learning center. Bangkok: Tienwattana Printing. [in Thai]

Thinwirat, N. (2012). The influence of info graphics on complex information: A case study of "Roo Soo Flood" (Master thesis). Bangkok: Silpakorn University. [in Thai]

Traim Udom Suksa School of the North. (2016). O-NET score report 2016. Retrieved September 27, 2018, from http://tn.ac.th/tn60/ [in Thai]

Udomrak, T., & Chamnankit, B. (2014). The effect of teaching science based on science, technology and society on science achievement and problem solving abilities of mathayomsuksa II students. Social Sciences Research and Academic Journal, 9(16), 139-152. [in Thai]