การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการจัดการเรียนรู้การออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน DEVELOPING NINTH GRADERS’ COMPLEX PROBLEM SOLVING COMPETENCY VIA ENGINEERING DESIGN PROBLEM-BASED LEARNING

Main Article Content

ณภัทร วอนศิริ
เบญจพร ปัณฑพลังกูร
จีระวรรณ เกษสิงห์

บทคัดย่อ

การแก้ปัญหาเป็นสมรรถนะพื้นฐานของการประกอบอาชีพทุกอาชีพในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้การออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 38 คน ของโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร แบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนถูกนำมาใช้เพื่อติดตามพัฒนาการของนักเรียน แบบวัดแต่ละฉบับ ประกอบด้วย สถานการณ์ปัญหาและข้อคำถามปลายเปิด 7 ข้อที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในระดับสูง หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้การออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 3 ครั้ง โดยองค์ประกอบที่นักเรียนมีการพัฒนามากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ 1) ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 2) ประเมินความซับซ้อนของปัญหาได้ และ 3) ระบุความเชื่อมโยงของตัวแปรหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี องค์ประกอบที่นักเรียนจำนวนมากยังประสบปัญหาอยู่ คือ ประเมินความเหมาะสมของแนวทางหรือข้อสรุปของวิธีการแก้ปัญหาได้ ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะแก่ครูผู้สอนว่าควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรเพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

Article Details

How to Cite
วอนศิริ ณ. ., ปัณฑพลังกูร เ. ., & เกษสิงห์ จ. (2020). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการจัดการเรียนรู้การออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: DEVELOPING NINTH GRADERS’ COMPLEX PROBLEM SOLVING COMPETENCY VIA ENGINEERING DESIGN PROBLEM-BASED LEARNING. Journal of Education and Innovation, 24(3), 147–157. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/240810
บท
บทความวิจัย

References

Chimkul, A., Kaewdee, S., & Nipada R. D. (2017). Effects of biology learning management based on the stem education approach on problem-solving ability and biology learning achievement of upper secondary school students. An Online Journal of Education, 12(1), 324-342. [in Thai].

Cholsin, J., Kijkuakul, S., & Chaiyasith, W. C. (2018). The action research for developing learning management on stoichiometry based on STEM approach emphasized engineering design process to promote collaborative problem solving competency. Journal of Education Naresuan University, 20(2), 32-46. [in Thai]

Fischer, A., & Neubert, J. C. (2015). The multiple faces of complex problems: A model of problem solving competency and its implications for training and assessment. Journal of Dynamic Decision Making, 1(6), 1–14.

Funke, J. (2012). Complex problem solving. In N. M. Seel (Ed.), Encyclopedia of the Sciences of Learning (pp. 682-685). Heidelberg: Springer. Retrieved from https://ssrn.com/abstract=2233373

Grubbs, M., & Strimel, G. (2015). Engineering design: The great integrator. Journal of STEM Teacher Education, 50(1), 77-90.

Hatraw, K., Thammaprateep, J., & Chawakirtipoon, N. (2017). The effects of problem-based learning in the topic of environment on problem solving skills and analytical thinking skills of Mathayom Suksa VI Students in Phuket Province. TNI Journal of Business Administration and Languages, 5(2), 46-51. [in Thai].

Kamtha, Y. (2014). The development of seventh grade students’ conceptions of atmosphere and applications in everyday daily life through context-based learning (Master thesis). Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Kemmis, S., McTaggart, R., & Nixon, R. (2014). The action research planner: Doing critical participatory action research. Singapore: Springer.

Lin, H. S., & Chiu, H. L. (2004). Student understanding of the nature of science and their problem-solving strategies. International Journal of Science Education, 26(1), 101-112.

National STEM Education Center. (2015). STEM education network manual. Bangkok: IPST. [in Thai]

OECD. (2013). PISA 2012 Assessment and analytical framework mathematics, reading, science, problem solving and financial literacy. Paris: OECD Publishing.

Peerawong, J. (2010). Development of learning plans to practice science problem solving process skills of Prathom Suksa 6 students (Master thesis). Chiangmai: Chiangmai University. [in Thai]

PISA Thailand. (2018). PISA 2015 results: Science, reading and mathematics, excellence and equality in education. Bangkok: Success Publication. [in Thai]

Sangthong, W. (2010). Grade 7 students’ views on science, technology and society, conceptions of matter and applications in everyday life using science, technology and society approach (Master thesis). Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]