ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ FACTORS AFFECT THE EFFICIENCY OF THAI LANGUAGE TEACHING AND LEARNING AS A FOREIGN LANGUAGE UNDERGRADUATE LEVEL OF THE MANDALAY UNIVERSITY OF FOREIGN LANGUAGE [MUFL] REPUBLIC OF THE UNION OF MYANMAR
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาพม่าระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ชั้นปีละ 50 คน รวม 100 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่เรียนวิชาเอกภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและอาจารย์ทั้งชาวพม่าและชาวไทยที่สอนวิชาเอกภาษาไทยมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จำนวน 9 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ แบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบสอบถามนักศึกษา ชุดที่ 2 แบบสอบถามอาจารย์ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ แบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบสัมภาษณ์นักศึกษา ชุดที่ 2 แบบสัมภาษณ์อาจารย์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของคณาจารย์เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พบว่า ผลลัพธ์โดยรวม ค่าเฉลี่ย 3.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ 1 ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อมภายนอก ค่าเฉลี่ย 4.13
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 อยู่ในระดับมาก ด้านที่ 3 ด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ย 3.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.83 อยู่ในระดับมาก สรุปผลความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ กรุงมัณฑเลย์ (MUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พบว่า ผลลัพธ์โดยรวม ค่าเฉลี่ย 3.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.88 อยู่ในระดับมาก โดยทุกด้านอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Astin, A. W. (1993). What matters in college? four critical years revisited. San Francisco: Jossey-Bass.
Chotivachira, B. (2016). A model of cross-culture education management of bachelor’s degree in Thai as a foreign language of Thai universities and republic of Korea Universities (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Krashen, S. D., & Terrell, T. D. (1983). The natural approach language acquisition in the classroom. Hayward, CA: The Alemany Press.
Niemtes, W. (2009). Analysis of factors affecting the educational quality of the teaching and learning project according to the curriculum of the ministry of education in English in secondary schools affiliated with the Office Basic Education Board Ministry of Education (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Prangsorn, R. (2017). The science of teaching Thai as a foreign language. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Prasitratasin, A. (1999). Languages in Thai society: Diversity, changing and development. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Suwannachot, P. (2012). Myanmar hits learning "Thai language", getting a job market in the future. (Khaosod Online). Retrieved April 10, 2020, from https://www.khaosod.co.th/breaking-news. [in Thai]
Vajiralongkorn, P., et al. (2017). Mechanism of cross-cultural learning in Myanmar – Thai: Thai studies, Burmese studies and religious studies. Retrieved April 10, 2020, from http://rasc.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2019/01/Article [in Thai]
Win Win Saw. (2012). Myanmar hits learning "Thai language", getting a job market in the future. (Khaosod Online). Retrieved April 10, 2020, from https://www.khaosod.co.th/breaking-news [in Thai]
Witthayasakphan, S. (2006). Teaching Thai as a foreign language. Chiang Mai: Ming Mueang Press. [in Thai]