การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น THE CONSTRUCTION OF THE THAI PRONUNCIATION SKILL EXERCISES FOR THE ETHNIC LUA (PRAY) STUDENTS BY MULTIGRADE LEARNING

Main Article Content

สุนารี ฝีปากเพราะ
ประภาษ เพ็งพุ่ม
อ้อมธจิต แป้นศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 14 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 3) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (T-test Dependent) และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ (E1/E2) ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.86/82.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.86 คะแนน และ 24.71 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.78, SD = 0.22)

Article Details

How to Cite
ฝีปากเพราะ ส. ., เพ็งพุ่ม ป. ., & แป้นศรี อ. . (2022). การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น: THE CONSTRUCTION OF THE THAI PRONUNCIATION SKILL EXERCISES FOR THE ETHNIC LUA (PRAY) STUDENTS BY MULTIGRADE LEARNING. Journal of Education and Innovation, 24(4), 253–263. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/247796
บท
บทความวิจัย

References

Chanphen, N. (1988). The use of Thai language. Bangkok: Ton Aor. [in Thai]

Intajamornrak, C. (2009). The pathway to the tonal language of the Malprai spoken in Nan Province. (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Intajamornrak, C. (2019). Thai pronunciation of Lua Speakers, Nan Province: A study in phonetics. Phitsanulok: Faculty of Humanities Naresuan University. [in Thai]

Jirawibun, J. (2001). A study of the reading-aloud achievement of students with reading learning problems who received remedial instruction (Master thesis). Bangkok: Srinakarinwirot University. [in Thai]

Kaewpat, S. (2017). Language and society. Udon Thani: Udon Thani Rajabhat University. [in Thai]

Ministry of Education. (2017). Indicators and core curriculum Thai language learning group (Revised version 2017) according to the basic education core curriculum, B.E. 2551. Bangkok: Agricultural Cooperatives of Thailand. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2008). Assorted learning management for small schools. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. [in Thai]

Santae, S. (2017). Development of learning activities in the mixed classes of Thai language learning for students in grades 5-6 in a small school (Master thesis). Maha Sarakham: Mahasarakham University. [in Thai]

Sinthurahass, W. (2010). A comparative study of learning achievement on Thai pattern of the 5th grade students and the students' satisfaction towards the mixed-grade teaching method (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Thamwiset, N. (2003). Development of a practice spelling skill in the mother press section for students in grade 4 (Master thesis). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University. [in Thai]

Thawong, W. (2006). Building a practice for improving reading aloud and spelling after words for students from the Thai mountain (Independent study). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Thongkoksee, W., & Tantriratna, S. (2012). The learning outcome in Thai language learning substance of Prathomsuksa 1-2 students studying by learning Unit for students multigrade classroom. Journal of Education Graduate Study Faculty of Education Khon Kaen University, 6(1), 134-140. [in Thai]

Wannachat, S. (2006). Building a spelling and reading skill set according to the Mae Kob, Mae Kon and Mae Press section for students of the Karen hill tribe grade 6 in Mae Hong Son Province (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. [in Thai]