การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วงกลม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 DEVELOPING SOCIAL CONSTRUCTIVIST MATHEMATICAL LAB INSTRUCTION WITH GEOGEBRA TO ENHANCE MATHEMATICAL CREATIVE THINKING IN CIRCLE OF GRADE IX STUDENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วงกลม และศึกษาพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วงกลม เมื่อทำปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียน จำนวน 34 คน ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ 4 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม ชิ้นงานของนักเรียน และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้แนวทางนี้ มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ ครูควรตรวจสอบความรู้จากประสบการณ์เดิมของนักเรียน และให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือ ครูควรให้นักเรียนร่วมมือกันสร้างความรู้ควบคู่กับการแก้ปัญหา โดยใช้โปรแกรม Geogebra และเปิดโอกาสให้นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ พบว่า เมื่อผ่านการเรียนรู้ทั้ง 4 วงจรปฏิบัติการ นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ในองค์ประกอบของการสร้างความคิดที่หลากหลายได้ดีที่สุด รองลงมา คือ การสร้างความคิดสร้างสรรค์ และการประเมินและปรับปรุงความคิด ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Angganapattarakajorn, V. (2012). All things to know for a math Teacher: Curriculum Instruction and research. Bangkok: Charansanitwongkarnpim. [in Thai]
Barak, M. (2016). Science teacher education in the twenty-first century: A pedagogical framework for technology-integrated social constructivism. Research in Science Education, 47(2), 283-303.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). PISA 2018: Executive Summary. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. [in Thai]
Kijkuakul, S. (2014). Learning science directions for teacher in the 21 Century. Phetchabun: Juldiskarnpim. [in Thai]
Kusumavalee, S. (2015). Where is Thailand in the creative context of the world? Retrieved September 9, 2020, from https://mgronline.com/management/detail/9580000100595 [in Thai]
Nahthasri, W. (2017). The development creative skills of students with writing mind map. Graduate Studies Journal, 14(64), 43-50. [in Thai]
Nuangchalerm, P. (2015). 21 Century learning in science. Journal of Rangsit University: Teaching & learning, 9(1), 136-154. [in Thai]
Panich, V. (2012). How to create student’ learing in 21 Century. Bangkok: Tathata Publication Company. [in Thai]
Ritcharoon, P. (2016). Assessment for Learning Development. STOU Education Journal, 9(1). 1-17. [in Thai]
Singngam, N. (2016). The development of a web-based the project based on the teaching of synnextic raptors to promote creative thinking for student in Matthayomsuksa 3. Graduate Studies Journal, 13(60), 151-166. [in Thai]
Tibpaeng, R. (2019). The development of mathematical connection ability through contest-based learning in ratio and percentage for tribesman student in grads 8. The 48 National Graduate Research Conference, June 13-14, 2019. Nakhon Pathom: Kasetsart Silpakorn University. [in Thai]
The Organisation for Economic Co-operation and Development. (2019). PISA 2021 creative thinking framework. Paris: The Organization for Economic Co-operation and Development.
Thongchai, A. (2013, November). What is technology and engineering in STEM Education? IPST magazine, 42(185), 35-37. [in Thai]
Uthit, C. (2014). Effects of Organizing Learning Activities on Linear Programming Supplementing Mathematical Skills and Processes by Using the GeoGebra for Mathayomsuksa Six Students at Samutsakhonburana School, Changwat Samut Sakhon (Master thesis). Bangkok: Kasetsart university. [in Thai]