THE DESIRABLE SCENARIO OF EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE WITH WORLD-CLASS STANDARD IN VOCATIONAL EDUCATION

Main Article Content

Tatsina Srithammarat
Suntaree Wannapairo
Rungchatchadaporn Vehachart

บทคัดย่อ

การวิจัยอนาคตภาพการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมาตรฐานสากลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการศึกษาแนวโน้มอนาคตภาพการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมาตรฐานสากลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีฉันทามติ มี 4 องค์ประกอบ 16 ตัวแปรสังเกตุได้ และ 182 เหตุการณ์ โดยเป็นเหตุการณ์ที่เป็นอนาคตที่พึงประสงค์ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน และมีความเป็นไปได้ระดับมากที่สุด จำนวน 115 เหตุการณ์ มีค่าความเป็นไปได้ระดับมาก จำนวน 56 เหตุการณ์ และมีค่าความเป็นไปได้ระดับปานกลาง จำนวน 1 เหตุการณ์ แต่มีความคิดเห็นไม่สอดคล้องกัน จำนวน 6 เหตุการณ์ สำหรับอนาคตภาพที่ไม่พึงประสงค์ และมีความคิดเห็นไม่สอดคล้องกัน จำนวน 4 เหตุการณ์ เหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมาตรฐานสากลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ครอบคลุมระบบการตรวจสอบคุณภาพของการจัดการอาชีวศึกษาเชิงระบบ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .772 ถึง 1.109 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของการเกิดเหตุการณ์ การประกันคุณภาพการศึกษาระดับมาตรฐานสากลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระหว่าง พ.ศ. 2562-2571 พบว่า ค่าไค-สแควร์ (χ²) เท่ากับ 285.751 ที่องศาอิศระ (df) เท่ากับ 92 มีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 3.106 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .521 .292 ตามลำดับ ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (RMR) เท่ากับ .032 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .324 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ขององค์ประกอบทั้ง 4 มีค่าเป็นบวกและเมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบที่มีแนวโน้ม แนวคิด เหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมาตรฐานสากลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า โดยองค์ประกอบด้านกระบวนการ (Process) มีความเป็นไปได้มากที่สุด (Factor Loading = 1.000) รองลงมา ได้แก่ ด้านผลลัพธ์ (Output) (Factor Loading = .994) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (Factor Loading = .992) ด้านสภาพแวดล้อม (Environment) (Factor Loading = .834) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
Srithammarat, T., Wannapairo, S. ., & Vehachart, R. . (2023). THE DESIRABLE SCENARIO OF EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE WITH WORLD-CLASS STANDARD IN VOCATIONAL EDUCATION. Journal of Education and Innovation, 25(2), 53–64. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/254468
บท
บทความวิจัย

References

Chareonwongsak, K. (2014). Lifelong learning. Retrieved from http://www.snc.lib.ac.th/sncclibblog

Daoruang, C. (2017). The Scenario of vocational education in dual vocational education of the office of vocational education commission in the next decade (Doctoral dissertation). Chachoengsao: Rajabhat Rajanagarindra University.

Hoy, W. K., & Miskel, G. C. (2012). Educational administration, theory, research and practice (7th ed.). (Translation Editor: Selahattin Turan). Ankara: Nobel Publications.

Kojuantiaw, S. (2014). Strategies for quality assurance management of technical colleges in office of the vocational education commission (Doctoral dissertation). Bangkok: Sripatum University.

Makranurak, D. (2011). The Scenario of Thai Vocational Education in the next decade (2011-2021) (Doctoral dissertation). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Office of the Education Council. (2017). Thailand education scheme (2017 – 2036). Bangkok: Prikwan Graphic.

Office of Quality Award. (2011). The criteria of national quality award (2012 – 2013). Bangkok: Pongwarin Printing.

Ruamchomrat, J. (2015). Model of dual vocational education system management in the office of vocational education commission (Doctoral dissertation). Kanchanaburi: Kanchanaburi Rajabhat University.

Sallis, E. (2002). Total quality management in education (3rd ed.). London: Kogan Page.