การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ (2) เพื่อศึกษาเกณฑ์สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ (4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการฝึกอบรมฯ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของเกณฑ์สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ และคู่มือประกอบการฝึกอบรม 4) แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพฯ 5) แบบทดสอบวัดสมรรถนะด้านความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม 6) แบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7) แบบสังเกตสมรรถนะการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า
1. ครูมีความต้องการรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, SD = 0.78)
2. เกณฑ์สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านความรู้ มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และด้านทักษะมีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้
3. รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการรูปแบบการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ ผู้ให้การฝึกอบรม/ผู้เข้ารับ การฝึกอบรม เนื้อหาการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก และสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบในรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.78, SD = 0.42) เมื่อนำไปวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการฝึกอบรมฯ พบว่า มีค่าเท่ากับ 81.80/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ พบว่า 4.1) ครูมีสมรรถนะด้านความรู้การจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) ครูมีสมรรถนะด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, SD = 0.52) 4.3) ครูมีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากผลการปฏิบัติการสอนในห้องเรียนมีคุณภาพการสอนในระดับมากที่สุด (
= 4.85, SD = 0.37) และ 4.4) ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.63, SD = 0.51)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Anosri, L. (2014). The development of blended training. Retrieved on June 10, 2019, from https://www.gotoknow.org/posts/225358
Bersin and Associates. (2003). Blended learning: What works?: An industry study of the strategy, implementation, and impact of blended learning. Retrieved from http://www.learningcircuits.org/2003/jul2003/bersin.htm
Bootchuy, T., & Bootchuy, P. (2021). Blended learning design in communicative English language teaching for learners in higher education in the digital age. Journal of Educational Technology, 16(20), 74-91.
Bureau of Personal Competency Development. (2010). Handbook of teacher’s competency (revised edition). Bangkok: Office of the Basic Education Commission.
Chaichaowarat, R. (2015). Process for enhancing Pre-Service Teachers’ ability in designing instruction on professional learning community approach: A case study research. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University.
Department of Curriculum and Instruction Development. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E.2551 (A.D. 2008). Bangkok: Ministry of Education.
Dufour, R., Dufour, R., Eaker, R., & Many, T. (2006). Learning by doing: A handbook for professional learning communities at work. Bloomington, IN: National Education Service.
Istrate, O. (2013). A blended learning delivery model to train medical staff. Social and Behavioral Sciences, 76(0), 403-407.
Jakchum, C. (2016). The development of a training program based on blended learning for enhancing teacher’s competency on using information and communication technology in learning management. Journal of Yala Rajabhat University, 11(2), 129-143.
Kedthawon, P. (2022). Development of Training courses based on Blended Learning Concepts to empower teachers for Century 21st. Journal of MCU Ubon Review, 7(2), 1347-1355.
Ministry of Education. (2017). Thailand Education Scheme B.E. 2560-2579. Bangkok: Ministry of Education.
Mitchell, C., & Sackney, L. (2000). Profound improvement: building capacity for a learning community. Lisse: Swets & Zeitlinger.
Office of the Basic Education Commission. (2014). Manual for teacher potential development and education supervision Evaluation in the classroom to diagnose learner deficiencies. Bangkok: Bureau of Educational Testing, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education.
Pantho, W. (2018). The development of blended training systems with action learning to enhance competency in instruction design on project based learning via integrate information and communication technology for primary school teachers (Doctoral dissertation). Pitsanulok: Nareasuan University.
Poldongnok, C. (2012). The development of coaching online training system for the service officer to technology user, commercial bank (Master thesis). Bangkok: Silpakorn University.