ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2,360 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 400 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร และครู รวมทั้งสิ้น 1,031 คน เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจําเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.95) และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.45) 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการสู่การพัฒนากรอบความคิดผู้ประกอบการของนักเรียนมัธยมศึกษา จําแนกตามการบริหารวิชาการ พบว่า ความต้องการจําเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNImodified = 0.134) รองลงมาคือ การพัฒนาการวัดประเมินผล (PNImodified = 0.131) และการพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.115) ตามลำดับ เมื่อจําแนกตามองค์ประกอบกรอบความคิดผู้ประกอบการ พบว่า ความต้องการจําเป็นสูงสุด คือ ความกล้าเสี่ยง (PNImodified = 0.146) รองลงมาคือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม (PNImodified = 0.138) และความยืดหยุ่นและฟื้นคืนพลัง (PNImodified = 0.135) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Chamchoy, S. (2022). Academic Management Responsive to Change in Disruptive Era. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. New York: Random House Publishing Group.
International Institute for Trade and Development. (2018). The entrepreneurship policy framework of the United Nations conference on trade and development. Bangkok: International Institute for Trade and Development.
Jiatong, W., Murad, M., Bajun, F., Tufail, M. S., Mirza, F., & Rafiq, M. (2021). Impact of entrepreneurial education, mindset, and creativity on entrepreneurial intention: Mediating role of entrepreneurial self-efficacy. Frontiers in Psychology, 12, 724440.
Juliana, N. O., Hui, H. J., Clement, M., Solomon, E. N., & Elvis, O. K. (2021). The impact of creativity and innovation on entrepreneurship development: Evidence from Nigeria. Open Journal of Business and Management, 1743-1770.
Lackeus, M. (2015). Entrepreneurship in education what, why, when, how. OECD.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum, 2008. Bangkok: Ministry of Education.
Office of the Education Council. (2018). Entrepreneurship Education. Bangkok: Office of the Education Council.
Office of the Education Council. (2022). A study report on the learning ecosystem model contributing to the development of the potential of Thai people 4.0. Bangkok: Office of the Education Council.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). The National Strategy (2018-2037). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.
Puapradit, T. (2022). Influence of entrepreneurial alertness and self-efficacy on entrepreneurial intention. Journal of Business Administration the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 10(1), 214-229.
Saedan, S. (2021). Current and desirable conditions and needs for academic management development in primary schools under Bangkok Metropolitan Administration based on the concept of entrepreneurship characteristic. Educational Management and Innovation Journal, 4(2), 51-71.
Sopakool, A. (2021). Activities curriculum development to enhance creative innovation abilities integrated local wisdom of secondary students’ Nongbualumphu Province. Journal of Education Naresuan University, 25(2), 317-325.
UNCTAD. (2012). Entrepreneurship Policy Framework and Implementation Guidance. New York: United Nation.