ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบและการสะท้อนคิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบและการสะท้อนคิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบและการสะท้อนคิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 36 คน ของโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบและการสะท้อนคิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง จำนวน 7 แผน และแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t ผลการวิจัย พบว่า 1) มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบและการสะท้อนคิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบและการสะท้อนคิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ได้แก่ ใช้คำถามกระตุ้นการสังเกต ลงมือปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและสะท้อนคิดร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่เน้นการสร้างมโนทัศน์ และส่งเสริมให้นักเรียนสะท้อนความคิดของตนเองเชื่อมโยงข้อมูลจากความรู้พื้นฐานเดิมเพื่อสร้างมโนทัศน์ใหม่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Hiebert, J. (1990). The role of routine procedures in the development of mathematical competence. In T.J. Cooney (Ed.), Teaching and learning mathematics in the 1990s:1990 yearbook (pp. 31-40). Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.
Kaewthip, A. (2018). An action research on development of conceptual knowledge and procedural knowledge through use dynamic software GeoGebra on the theory of constructionism on conic section of 9th grade students (Master thesis). Phitsanulok: Naresuan University.
Kinard, T., & Kozulin, A. (2008). Rigorous mathematical thinking: Conceptual formation in the mathematics classroom. Cambridge: Harvard University.
Kittiwarakun, V. (2018). A study of mathayomsuksa III students’ conceptual knowledge and proof abilities on circles via conjecturing and proving method with GeoGebra program. Journal of Industrial Education,18(2), 67-74.
Lougharn. (1996). Developing reflective Practice: learning about teaching and learning through modeling. London: Falmer.
Makanong, A. (2003). Mathematics: Teaching and learning. Bangkok: Chulalongkorn University.
Makanong, A. (2014). Mathematics for high school teachers. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Ornstein, A. C., & Lasley, T. J. (2000). Strategies for teaching (3rd ed.). New York: McGraw-Hill Companies.
Pedaste, M., Mäeots, M., Siiman, L. A., De Jong, T., Van Riesen, S. A., Kamp, E. T., & Tsourlidaki, E. (2015). Phases of inquiry-based learning: Definitions and the inquiry cycle. Educational Research Review, 14(1), 47-61.
Punchasupawong, S. (2018). Concept attainment model in mathematics. Veridian E-Journal, 11(1), 2280-2291.
Sangthong, K. (2021). A study of mathayomsuksa V students’ conceptual knowledge and procedural knowledge on vectors in 3D by using GeoGebra program (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.
Seebudsri, S. (2020). The effective of reflection activities on English presentation skills of grade 8th Thai students (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.
Sriphahon, S. (1993). General condition of Thai education. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
Srisaart, O. (2011). Self-assessment. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, (17)2, December.
Suangsomboon, N. (2019). Research and development of mathematic instruction process based on inquiry and metacognitive approach to enhance mathematical concept and self-efficacy of mathayomsuksa one students. Journal of Education, 30(3), 113-128.
The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Professional science teacher: The way for effective teaching. Bangkok: Kurusapa Printing.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2013). Mathematical skills and processes (3rd ed.). Bangkok: 3-Q Media.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2019). PISA 2018 student assessment. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/18DKqGcId1dN6IWF07TXG8YZsQOg-NlWZ/view
Yongtangrue, P. (2016). The effect of learning by discovery learning concept with GeoGebra program in topic of conic section (Master thesis). Bangkok: King Mongkut's University of Technology Thonburi.