องค์ประกอบของรูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ธัญวดี กำจัดภัย
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันข้อมูลบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง และ 3) เพื่อทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เยาวชนในจังหวัดพิษณุโลก ที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ (Voluntary Selection) จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง 2) แบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบทดสอบความรู้ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ที่สร้างขึ้นมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) วงจรการเรียนรู้ 2) เชื่อมโยง และ 3) สะท้อนคิด
2. รูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.17/81.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของเยาวชนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.69 คะแนน และ 37.37 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของเยาวชนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
กำจัดภัย ธ. ., & สิทธิวงศ์ ท. (2024). องค์ประกอบของรูปแบบการท่องเที่ยวจากการแบ่งปันบนสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. Journal of Education and Innovation, 26(3), 272–284. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/263875
บท
บทความวิจัย

References

Chaicharoen, S. (2014). Instructional design, principles, theory into practice. Khon Kaen: Faculty of Education Khon Kaen University.

Chala, C. (2013). Developing Learning with Technology and Reality (AR) in conjunction with bilingual storybooks using Group process to promote early childhood listening and speaking language skills. Bangkok: King Mongkut's University of Technology Thonburi.

DIGI.TORY. (2021). Storytelling What is it? How good is it for the online world in this era? Retrieved April 3, 2023, form https://digitorystyle.com/what-is-storytelling/

Juathai, J. (2018). The study on the Construction Model of Community Ecological Sustainability with Local Wisdom Base. Journal of Education Thaksin University, 18(1), 77-89.

Sarnok, K., Wannapiroon, P., Nilsook, P., & Chalermsuk, N. (2019). System architecture and elements of digital learning ecosystem for teaching and learning with digital storytelling for teacher professional students. Sikkha Journal of Education, 6(2), 87-100.

Sittiwong, T. (2016). Instructional system design. Bangkok: V Print.

Suthirat, C. (2012). 80 Learning management innovations that focus on learners (5th ed.). Bangkok: Danex Inter Corporation.

Wannaprapa, T. (2015). Teaching model for developing information synthesis skills by self-directed learning via social media. For undergraduate students (Doctoral dissertation). Chonburi: Burapha University.

Wanpirun, P., & Supha, W. (2012). Collaborative learning model through social media to support learning through communication arts projects for graduate students. National Academic Conference on e-learning 2012 (pp. 161-169). Bangkok: Impact Muang Thong Thani.