การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ท่องอวกาศ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเป็นภาพ

Main Article Content

ณัฐกานต์ นิลรัตน์
อรุณรัตน์ คำแหงพล
พิทักษ์ วงษ์ชาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนบ้านปากอูน (ปากอูนผดุงวิทย์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเป็นภาพ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
นิลรัตน์ ณ., คำแหงพล อ. ., & วงษ์ชาลี พ. . (2024). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ท่องอวกาศ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเป็นภาพ. Journal of Education and Innovation, 26(3), 232–245. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/265504
บท
บทความวิจัย

References

insKru Thailand. (2018). Visual Thinking 101: introduction. Retrieved from

https://medium.com/inskru/inskru-visual-thinking-101-9aecc0630c30

Junsuthonpoj, S. (2020). Teaching environmental management using visual thinking to promote learning attitude and achievement of hospitality students. Walailak Journal of Learning Innovations, 6(2), 117-131.

Kharoendee, K., Khamhaengpol, A., & Pansuppawat, A. (2021). Development of problem-solving abilities of prathomsuksa 5 students on the topic of change of substance by using STEM education. Journal of MCU Peace Studies, 10(1), 160-174.

Khotsing, S., Erawan, P., & Siwarom, M. (2014). Development of a science instruction model based on problem-based learning to enhance problem solving skills of grade seven students. Research Methodology & Cognitive Science, 11(2), 40-52.

Ministry of Education. (2008). Basic education core curriculum A.D. 2008. Bangkok: The agricultural Co-operative Federation of Thailand.

Netwong, T. (2016). Development of problem solving skills by integration learning following STEM education. Research Journal-Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 15(2), 1-6.

Phonchaiya, S. (2014). STEM education with advanced thinking. IPST Magazine, 42(189), 7-10.

Sholihah, U., & Maryono, M. (2020). Students’ visual thinking ability in solving the integral problem. Journal of Research and Advances in Mathematics Education, 5(2), 175–186.

Siripattrachai, P. (2013). STEM education and 21st century skills development. Executive Journal, 33(2), 49-56.

Yafad, S., Visavateeranon, S., & Pinsuwan, D. (2019). The effects of learning management using STEM education the topic of substances in everyday life on problem solving ability and creative thinking of prathomsuksavi students. Kasetsart Educational Review, 34(1), 39-50.